Wednesday, July 02, 2008

Quote จากหนังสือ My Life as a Coach - Sigve

"We are not in the coffee business serving people.
We are in the people business serving coffee."

Howard Schultz, CEO, Stabucks


"Fail faster, succeed sooner"
Davis Kelly


"Leaders don't create Followers. They create Leaders."
Tom Peter


"We need men who can dream of things that never were."
John F. Kennedy


"Move out of your comfort zone.
You can only grow if you are willing
to feel awkward and uncomfortable when you try something new."
Brian Tracy


"Be a first rate version of yourself,
not a second rate version of someone else."
Judy Garland


"Example is not the main thing
in influencing others,
it is the only thing."
Albert Schweitzer


"Courage is what it takes to stand up and speak;
Courage is also what it takes to sit down and listen."
Winston Churchill


"Champions are made from something
they have deep inside them -- a desire, a dream, a vision.
They have to have the skill and te will.
But the will must be stronger than the skill."
Muhammad Ali


"Once you find laughter,
no matter how painful your situation might be,
you can survive it."
Bill Cosby


"Share our similarities,
celebrate our diffierences."
M. Scott Peck


"Competition is not only
the basis of protection to consumer,
but is the incentive to progress."
Herbert Hoover


"Be who you are and say what you feel,
because those who mind don't matter and
those who matter don't mind."
Dr. Seuss


"Things turn out the best
for the people who make the best of
the way things turn out."
John Wooden


"Nothing is too small to know
and nothing is too big too atemp."
William Van Horne


"Do not go where the path may lead;
go instead where there is no path
and leave a trail."
Ralph Waldo Emerson


"Nothing great in the world has ever
been accomplished without passion."
Hebbel


"It is not the stongest of the species that survives,
nor the most intelligent that survives. It is the one
that is the most adaptable to change."
Chaeles Darwin


"My motto in life is to be humble and endlessly
persist and strive. I really believe that there is
nothing that can be gained without effort."
Rain


"Freedom is the opportunity to make decisions."
Unknown


"There is no 'I' in team
but there is in 'Win'. "
Michael Jordan


"It isn't that they can't see the solution.
It's that they can't see the problem."
G.K. Chesterton


"It is alright to be Goliath
but always act like David."
Phil Knight


"I don't know the key to success,
but the key to failure is trying to
please everybody."
Bill Cosby


"Formula for success:
under promise and
over deliver."
Tom Peters


"The organizations that can't communicate
can't change, and the corporation that can't
change, is dead."
Nido Qubein


"Having a positive mental attitude is asking
how something can be done rather than
saying it can't be done."
Bo Bennett


"A man can fail many times,
but he isn't a failure until he
begins to blaim somebody else."
John Burroughs


"Leadership is action, not position."
Donald H. McGannon


"A quitter never wins and
a winner never quits."
Napoleon Hill


"Vision is the art of seeing the invisible."
Jonathan Swift


"Don't be threatened by
people smarter than you."
Howard Schultz


"When written in Chinese, the word 'Crisis'
is composed of 2 characters - one represents danger,
and the other represents opportunity."
John F. Kenedy


"Authentic marketing is not
the art of selling what you make
but knowing what to make."
Philip Kotler


"My main job was developing talent."
Jack Welch


"The definition of insanity is doing the same thing
over and over again and expecting different results."
Alvert Einstein




Tuesday, May 06, 2008

ค่าน้ำนม

แม่นี้มีบุญคุณอันใหญ่หลวง
ที่เฝ้าหวงห่วงลูกแต่หลังเมื่อยังนอนเปล
แม่เราเฝ้าโอ้ละเห่
กล่อมลูกน้อยนอนเปลไม่ห่างหันเห ไปจนไกล

เมื่อเล็กจนโตโอ้แม่ถนอม
แม่ผ่ายผอมย่อมเกิดจากรักลูกปักดวงใจ
เติบ โตโอ้เล็กจนใหญ่นี่แหละหนาอะไร มิใช่ใดหนาเพราะค่าน้ำนม

(*) ควร คิดพินิจให้ดี
ค่าน้ำนมแม่นี้ จะมีอะไรเหมาะสม
โอ้ว่าแม่จ๋า ลูกคิดถึงค่าน้ำนม
เลือดในอกผสม กลั่นเป็นน้ำนมให้ลูกดื่มกิน

ค่าน้ำนมควรชวนให้ลูกฝัง
แต่เมื่อหลังเปรียบดังผืนฟ้าหนักกว่าแผ่นดิน
บวช เรียนพากเพียรจนสิ้น
หยดหนึ่งน้ำนมกิน ทดแทนไม่สิ้นพระคุณแม่เอย (*)















Monday, May 05, 2008

ใครหนอ

ใคร หนอ รักเรา เท่าชีวี
ใคร หนอ ปรานี ไม่มีเสื่อมคลาย
ใคร หนอ รักเราใช่เพียงรูปกาย
รักเขาไม่หน่าย มิคิดทำลาย ใคร หนอ

ใคร หนอ เห็นเรา เศร้าทรวงใน
ใคร หนอ เอาใจปลอบเราเรื่อยมา
ใคร หนอ รักเราดังดวงแก้วตา
รักเขากว้างกว่า พื้นพสุธา นภากาศ

จะเอาโลก มาทำปากกา
แล้วเอานภา มาแทน กระดาษ
เอาน้ำหมด มหาสมุทรแทนหมึกวาด
ประกาศ พระคุณไม่พอ

ใคร หนอ รักเรา เท่าชีวัน (เท่าชีวัน)
ใคร หนอ ใครกันให้เราขี่คอ(คุณพ่อ คุณแม่)
ใคร หนอ ชักชวนดูหนังสี่จอ
รู้แล้วละก็ อย่ามัวรั้งรอ ทดแทนบุญคุณ

ดนตรี ……………………….

ใคร หนอ รักเรา เท่าชีวัน (เท่าชีวัน)
ใคร หนอ ใครกันให้เราขี่คอ(คุณพ่อ คุณแม่)
ใคร หนอ ชักชวนดูหนังสี่จอ
รู้แล้วละก็ อย่ามัวรั้งรอ ทดแทนบุญคุณ.


โดย The Hot Pepper
















โดย สวลี ผกาพันธ์













คนเก่งคนดี

ด้วยความรักและห่วง
ห่วงใยดังลูกแท้ๆ
เฝ้าอบรมดูแลด้วยใจ
ไม่ได้หวังเงินทอง
ไม่ต้องการสิ่งไหน
ครูหวังเพียงให้เจ้าได้มีความรู้
จะเป็นเหมือนสะพาน
ให้เจ้าข้ามสู่จุดหมาย
นี่คือความตั้งใจของครู
โลกใบนี้กว้างใหญ่
มากมายที่เจ้าต้องรู้
เจ้าจงเรียนรู้เพื่อวันต่อไป

**จงตั้งใจให้เป็นคนเก่งคนดี
เจ้าไปได้ดีโชคดีครูก็สุขใจ
แต่อย่าเอาความรู้ไปคดโกงใคร
จงใช้ชีวิตบนความดีงาม
คอยจ้ำจี้จ้ำไช
ให้เจ้านั้นอ่านนั้นเขียน
ผิดก็คอยเฝ้าเตือนเรื่อยมา
เจ้าคงคิดคงบ่น
ว่าอะไรนักหนา
เด็กน้อยวันหนึ่งเจ้าจะเข้าใจ

(**)

แต่อย่าเอาความรู้ไปคดโกงใคร
จงใช้ชีวิตบนความดีงาม


Tuesday, April 08, 2008

อิทธิบาท 4











คำว่า อิทธิบาท แปลว่า บาทฐานแห่งความสำเร็จ หมายถึง สิ่งซึ่งมีคุณธรรม เครื่องให้ลุถึงความสำเร็จตามที่ตนประสงค์ ผู้หวังความสำเร็จในสิ่งใด ต้องทำตนให้สมบูรณ์ ด้วยสิ่งที่เรียกว่า อิทธิบาท ซึ่งจำแนกไว้เป็น ๔ คือ ๑. ฉันทะ ความพอใจรักใคร่ในสิ่งนั้น ๒. วิริยะ ความพากเพียรในสิ่งนั้น ๓. จิตตะ ความเอาใจใส่ฝักใฝ่ในสิ่งนั้น ๔. วิมังสา ความหมั่นสอดส่องในเหตุผลของสิ่งนั้น

ธรรม ๔ อย่างนี้ ย่อมเนื่องกัน แต่ละอย่างๆ มีหน้าที่เฉพาะของตน

ฉันทะ คือความพอใจ ในฐานะเป็นสิ่งที่ ตนถือว่า ดีที่สุด ที่มนุษย์เรา ควรจะได้ ข้อนี้ เป็นกำลังใจ อันแรก ที่ทำให้เกิด คุณธรรม ข้อต่อไป ทุกข้อ

วิริยะ คือความพากเพียร หมายถึง การการะทำที่ติดต่อ ไม่ขาดตอน เป็นระยะยาว จนประสบ ความสำเร็จ คำนี้ มีความหมายของ ความกล้าหาญ เจืออยู่ด้วย ส่วนหนึ่ง

จิตตะ หมายถึงความไม่ทอดทิ้ง สิ่งนั้น ไปจากความรู้สึก ของตัว ทำสิ่งซึ่งเป็น วัตถุประสงค์ นั้นให้เด่นชัด อยู่ในใจเสมอ คำนี้ รวมความหมาย ของคำว่า สมาธิ อยู่ด้วยอย่างเต็มที่

วิมังสา หมายถึงความสอดส่องใน เหตุและผล แห่งความสำเร็จ เกี่ยวกับเรื่องนั้นๆ ให้ลึกซึ้งยิ่งๆ ขึ้นไปตลอดเวลา คำนี้ รวมความหมาย ของคำว่า ปัญญา ไว้อย่างเต็มที่

หลวงพ่อทัตตชีโว หรือ หลวงพ่อธรรมชโย เคยบอกแนวทางวิธีง่ายๆ ที่จะสร้าง วิมังสาให้เกิดขึ้นกับตัวเรา มันเป็นคำง่ายๆ แต่ลึกซึ้งมาก ท่านแค่ให้โอวาทในการทำงานว่า

"ทำให้ดี กว่าดีที่สุด"

นั่นหมายถึง เวลาเราทำงานแล้ว คิดว่าดีแล้ว ให้สังเกตุ และ วิเคราะห์งานที่ทำว่า เราสามารถทำได้ดีกว่านี้อีกหรือไม่ มีวิธีการใดที่จะทำได้ดีกว่านี้ หรือ ถ้าทำในครั้งต่อไป เราจะทำอย่างไรเพื่อให้ได้ผลดีกว่านี้ เป็นต้น ซึ่งถ้าทุกคนสามารถนำเอาคำหลวงพ่อมาใช้ ก็จะเปลี่ยนแปลงตนเองให้มีวิมังสาให้เกิดกับตนเองได้อย่างน่าอัศจรรย์

และ อีกโอวาทหนึ่ง คือ

"ไม่ได้ ไม่ดี ไม่มี ไม่ได้... ต้องได้ ต้องดี ต้องมี ต้องได้"

คำว่า "ไม่ได้ ไม่ดี ไม่มี ไม่ได้" เป็นคำที่บ่งบอกให้ใจของเรามุ่งมั่นว่าสิ่งที่จะทำนั้นในเมื่อรับงานมาแล้ว การจะบอกว่า ทำไม่ได้ นั้น ต้องไม่มี เพราะก่อนที่เจ้านายจะสั่งงานนั้น ก็ต้องคิดก่อนแล้วว่าน่าจะเป็นไปได้ แต่ถ้าทำไม่ได้ก็ต้องแสวงหาหนทางเพื่อที่จะทำในหนทางอื่นๆอีก ไม่ใช่ว่า คิดว่าทำไม่ได้ก็จบกันไป หรือบางคนมักจะอ้างว่า ไม่มีสิ่งนั้น ไม่มีสิ่งนี้ ทั้งๆที่ตนเองยังไม่ได้พยายามหาเลยก็มี ซึ่งคนกลุ่มนี้ก็ต้องให้เขาคิด ว่า ถ้าไม่มีสิ่งนั้นแล้วจะหาสิ่งอื่นๆมาทดแทนได้หรือไม่ หรือ จะสร้างสิ่งเหล่านั้นขึ้นมาได้อย่างไร และ เมื่อเริ่มทำแล้วก็ต้องทำให้ดี หากต้องแก้ไขก็ต้องแก้ไขให้ดีขึ้นเรื่อยๆ

พรหมวิหาร 4





















พรหมวิหาร แปลว่า ธรรมของพรหมหรือของท่านผู้เป็นใหญ่ พรหมวิหารเป็นหลักธรรมสำหรับทุกคน เป็นหลักธรรมประจำใจที่จะช่วยให้เราดำรงชีวิตอยู่ได้อย่างประเสริฐและบริสุทธิ์ หลักธรรมนี้ได้แก่
- เมตตา ความปรารถนาให้ผู้อื่นได้รับสุข
- กรุณา ความปราถนาให้ผู้อื่นพ้นทุกข์
- มุทิตา ความยินดีเมื่อผู้อื่นได้ดี
- อุเบกขา การรู้จักวางเฉย


เมตตา
ความปราถนาให้ผู้อื่นได้รับสุข ความสุขเป็นสิ่งที่ทุกคนปรารถนา ความสุขเกิดขึ้นได้ทั้งกายและใจ เช่น ความสุขเกิดการมีทรัพย์ ความสุขเกิดจากการใช้จ่ายทรัพย์เพื่อการบริโภค ความสุขเกิดจากการไม่เป็นหนี้ และความสุขเกิดจากการทำงานที่ปราศจากโทษ เป็นต้น


กรุณา
ความปรารถนาให้ผู้อื่นพ้นทุกข์ ความทุกข์ คือ สิ่งที่เข้ามาเบียดเบียนให้เกิดความไม่สบายกายไม่สบายใจ และเกิดขึ้นจากปัจจัยหลายประการด้วยกัน พระพุทธองค์ทรงสรุปไว้ว่าความทุกข์มี 2 กลุ่มใหญ่ๆ ดังนี้

- ทุกข์โดยสภาวะ หรือเกิดจากเปลี่ยนแปลงตามธรรมชาติของร่างกาย เช่น การเกิด การเจ็บไข้ ความแก่และความตายสิ่งมีชีวิตทั้งหลายที่เกิดมาในโลกจะต้องประสบกับการเปลี่ยนแปลงทางร่างกายอย่างหลีกเลี่ยงไม่ได้ ซึ่งรวมเรียกว่า กายิกทุกข์

- ทุกข์จรหรือทุกข์ทางใจ อันเป็นความทุกข์ที่เกิดจากสาเหตุที่อยู่นอกตัวเรา เช่น เมื่อปรารถนาแล้วไม่สมหวังก็เป็นทุกข์ การประสบกับสิ่งอันไม่เป็นที่รักก็เป็นทุกข์การพลัดพรากจากสิ่งอันเป็นที่รัก ก็เป็นทุกข์ รวมเรียกว่า เจตสิกทุกข์


มุทิตา
ความยินดีเมื่อผู้อื่นได้ดี คำว่า "ดี" ในที่นี้ หมายถึง การมีความสุขหรือมีความเจริญก้าวหน้า ความยินดีเมื่อผู้อื่นได้ดีจึงหมายถึง ความปรารถนาให้ผู้อื่นมีความสุขความเจริญก้าวหน้ายิ่งๆขึ้น ไม่มีจิตใจริษยา ความริษยา คือ ความไม่สบายใจ ความโกรธ ความฟุ้งซ่านซึ่งมักเกิดขึ้นเมื่อเห็นผู้อื่นได้ดีกว่าตน เช่น เห็นเพื่อนแต่งตัวเรียบร้อยแล้วครูชมเชยก็เกิดความริษยาจึงแกล้งเอาเศษชอล์ก โคลน หรือหมึกไปป้ายตามเสื้อกางเกงของเพื่อนนักเรียนคนนั้นให้สกปรกเลอะเทอะ เราต้องหมั่นฝึกหัดตนให้เป็นคนที่มีมุทิตา เพราะจะสร้างไมตรีและผูกมิตรกับผู้อื่นได้ง่ายและลึกซึ้ง


อุเบกขา
การรู้จักวางเฉย หมายถึง การวางใจเป็นกลางเพราะพิจารณาเห็นว่า ใครทำดีย่อมได้ดี ใครทำชั่วย่อมได้ชั่ว ตามกฎแห่งกรรม คือ ใครทำสิ่งใดไว้สิ่งนั้นย่อมตอบสนองคืนบุคคลผู้กระทำ เมื่อเราเห็นใครได้รับผลกรรมในทางที่เป็นโทษเราก็ไม่ควรดีใจหรือคิดซ้ำเติมเขาในเรื่องที่เกิดขึ้น เราควรมีความปรารถนาดี คือพยายามช่วยเหลือผู้อื่นให้พ้นจากความทุกข์ในลักษณะที่ถูกต้องตามทำนองคลองธรรม

เชิดชูครู ผู้สร้างคน


ใครคือครู ครูคือใคร? ในวันนี้


ครูคือผู้ชี้นำ ทางความคิด


ให้รู้ถูกรู้ผิด คิดอ่านเขียน


ให้รู้ทุกข์ รู้ยาก รู้พากเพียร

ให้รู้เปลี่ยน แปลงสู้ รู้สร้างงาน

ครูคือผู้ยกระดับ วิญญาณมนุษย์

ให้สูงสุดกว่าสัตว์เดรัจฉาน


ครูคือผู้สั่งสมอุดมการณ์

มีดวงมาร เพื่อมวลชน ใช่ตนเอง


ครูจึงเป็นนักสร้างผู้ใหญ่ยิ่ง

สร้างคนจริง สร้างคนกล้า สร้างคนเก่ง

สร้างคนให้ได้เป็นตัว ของตัวเอง

ขอมอบเพลงนี้มา บูชาครู



เพราะคนไทยมีครู จึงมีเราทุกคนในวันนี้ 7-eleven เชิดชูครู ผู้สร้างคน


Thursday, March 06, 2008

ปริศนาธรรมจากพิธีศพ

พิธีศพของคนไทยความหมายมาก
มีหลายหลากปริศนาธรรมพึงจำไว้
แต่เริ่มต้นมัดตราสังยังร่างกาย
จวบสุดท้ายเผาเป็นขี้เถ้าเล่าบอกธรรม




มัดตราสังเป็นสามเปราะเคาะความหมาย
เมื่อวางวายมัดคอไว้ความหมายล้ำ
การผูกมัดหมายถึงบ่วงห่วงให้จำ
ที่คอนั้นบ่วงรักลูกผูกมัดใจ
มัดที่มือคือบ่วงรักภักดิ์ผัว-เมีย
เมื่อตายเสียยังห่วงหาอาทรไห้
ส่วนสมบัติและทรัพย์สินนั้นกินใจ
มัดติดไว้ที่ข้อเท้าให้เศร้าตรม
สามบ่วงนี้ผูกติดจิตติดนิสัย
เมื่อบรรรลัยนิพพานไปไม่ได้สม
ต้องเวียนว่ายในวัฏฏะสังคคม
เป็นอารมย์ที่ยึดติดจิตอุปไมย


ยามพระสงฆ์นั่งสวดพร้อมน้อมรับศีล
ศพไม่ได้ยินบุตรหลานก็เคาะโลงให้
แท้จริงใบ้แขกรับศีลผินประไพ
เป็นความหมายบอกผู้คนยลพระธรรม
อย่าทำตัวให้ประมาทขาดสติ
ไม่ทิฏฐิละทิ้งไปในคำสอน
หมดโอกาสได้กระทำยามม้วยมรณ์
จะอ้อนวอนเคาะโลงไงไม่ได้ฟัง



ยามพระสงฆ์สวดภาษาว่าบาลี
หมู่คนดีฟังไม่รู้อยู่หน้าหลัง
เข้าใจว่าพระสวดให้คนตายฟัง
อโธ่ถัง! พระสวดสอนคนตอนเป็น
หวังให้คนเอาไปใช้ปฏิบัติ
ใช้ยืนหยัดดำรงตนพ้นทุกข์เข็ญ
หากฟังแล้วไม่เข้าใจไม่จำเป็น
ขอให้เน้นสำรวมจิตคิดสิ่งดี

บวชหน้าไฟมักเข้าใจกันให้ผิด
ต่างก็คิด"จูงคนตาย"ไปวิถี
พ้นนรกสู่สวรรค์ชั้นที่ดี
จึงบางทีแย่งกันบวชผนวชกัน
แท้ที่จริงเป็นการลงปลงสังเวช
ถึงสาเหตุเกิดเจ็บตายไม่เหหัน
เกิดมาแล้วไม่แคล้ววายตายด้วยกัน
เพียงเท่านั้นมนุษย์นี้มีอะไร
เมื่อปลงได้ก็อยากได้หนีไปบวช
ไปผนวชหนีแสงสีโลกีย์วิสัย
ประพฤติธรรมเพื่อหลุดล้นให้พ้นไป
เพื่อจะได้สู่มรรคผลหนนิพพาน


การนิมนต์พระจูงศพพบแห่งเหตุ
เป็นจิตเจตให้คนคิดจิตสันนิษฐาน
ใช้พระธรรมองค์สัมมาฯมีมานาน
ดำรงการดำรงตนเป็นคนดี
ยามมีชีพดำรงตามพระธรรมสอน
ตามขั้นตอนองค์สัมมาหาวิถี
เอาคนตายให้พระนำตามวิธี
สังวรนี้ไว้สอนคนสนใจทำ


การเวียนศพซ้าย 3 รอบชอบความหมาย
การเวียนว่ายเกิดตายในภพสาม
มีกามภพ,รูปภพ,อรูปภพ ประสบตาม
ทุกเมื่อยามอยู่วนเวียนกรรมเกวียนกง
เมาตัณหาอุปทานการกิเลส
น่าสังเวชเป็นทุกข์ใจให้ลุ่มหลง
ไม่จบสิ้นมัวเวียนว่ายตายอยู่ยง
ต้องละหลงทวนกระแสแห่ศพเวียน



น้ำมะพร้าวล้างหน้าศพลบกิเลส
เป็นจิตเจตน์ความสะอาดไม่พลาดเปลี่ยน
ดั่งน้ำทิพย์อันบริสุทธิ์ดุจกระเษียร
ชำระเปลี่ยนให้จิตใจใส่ดวงธรรม


เผาศพแล้วเหลือขี้เถ้าเคล้าเศษอัฐิ
เขาเขี่ยคัดเถ้าไปมาน่าสอบถาม
จัดเป็นรูปร่างคนจนสวยงาม
คือหมายความกลับชาติใหม่ใช้กรรมเวร



ปริศนาธรรมคนเก่าก่อนสอนให้คิด
แฝงนิมิตบอกความนัยให้คนเห็น
เป็นข้อคิดก่อเกิดธรรมความจำเป็น
ฝากและเน้นให้เห็นธรรมพร้อมกรรมดี

Saturday, June 02, 2007

พระพทธรูป ภ.ป.ร


พระพุทธรูป ภ.ป.ร. มีต้นกำเนิดมาจากพระพุทธรูปฉลองเจ็ดสิบสองปีศิริราช ที่สร้างขึ้นในโอกาสจัดงานฉลองครบรอบ 72 ปี ศิริราชพยาบาล เมื่อ พ.ศ. 2505 โดยมีพระธรรมจินดาภรณ์ วัดราชบพิตร ผู้มีความเชี่ยวชาญในด้านพุทธศิลปและการสร้างพระพุทธรูปเป็นผู้ออกแบบร่วมกับ นายโต ขำเดช ช่างปั้นพระพุทธรูปประจำโรงงานหล่อพระของนางฟุ้ง อันเจริญ บ้านช่างหล่อ ย่านฝั่งธนบุรีซึ่งเป็นช่างหล่อ พระพุทธรูป ฝีมือดีคนหนึ่งในยุคนั้น

พระพุทธรูปฉลองเจ็ดสิบสองปีศิริราช จัดสร้างเป็นพระพุทธรูปปางประทานพร มีพุทธลักษณะงดงามมากคล้ายพระพุทธรูปสมัยสุโขทัยปางมารวิชัย ประทับนั่งเหนือฐานบัวค่ำบัวหงาย แบบฐานบัว สมัยสุโขทัย (ถอดแบบจากองค์รองรับอีกชั้นหนึ่ง) ได้จัดสร้างขึ้นเป็น 2 ขนาด คือขนาดหน้าตักกว้าง 4 นิ้ว และขนาดหน้าตักกว้าง 5 นิ้ว รวม 230 องค์ พระพุทธรูปปางประทานพรของศิริราชพยาบาลดังกล่าวข้างต้นนี้ นับเป็นต้นแบบของพระพุทธรูป ภ.ป.ร.โดยแท้

ต่อมาในวโรกาสที่พระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัวฯ และสมเด็จพระนางเจ้าฯพระบรมราชินีนาถ ได้ทรงเสด็จพระราชดำเนินไปทรงบำเพ็ญพระราชกุศลทอดพระกฐินต้น ณ วัดเทวสังฆาราม จังหวัดกาญจนบุรี เมื่อวันที่ 26 ตุลาคม พ.ศ 2506 ทางวัดโดยพระเทพมงคลรังษี เจ้าอาวาสในขณะนั้น พร้อมด้วยคณะกรรมการวัด มีความเห็นร่วมกันว่าสมควรสร้างพระพุทธรูปปางประทานพรไว้เป็นที่ระลึก และเพื่อให้ประชาชนได้มีไว้สักการะบูชา โดยขอพระราชทานพระบรมราชานุญาติ อัญเชิญตราพระปรมาภิไธยย่อ ภ.ป.ร. ประดับบนเหนือผ้าทิพย์ ขององค์พระพุทธรูปด้วย ซึ่งก็ได้รับพระมหากรุณาธิคุณ พระราช ทานพระบรมราชานุญาติให้ตามความประสงค์ของทางวัด


พระพุทธรูปของวัดเทวสังฆาราม ที่สร้างขึ้นเมื่อพ.ศ. 2506นี้ ได้ใช้แบบพระพุทธรูปฉลอง เจ็ดสิบสองปี ศิริราชเป็นหลัก โดยพระธรรมจินดาภรณ์เป็นผู้คิดแบบ และได้มีการแก้ไขเพิ่มเติมแบบเล็กน้อย เช่นการแก้พระหัตถ์ขวาที่พาดลงเป็นให้นิ้วพระหัตถ์กระดิกขึ้นพระวรกายและพระพักตร์ งามกว่าเดิม และให้ออกไปทางแบบพระพุทธปฏิมาแลดูสง่าและงดงามยิ่งขึ้น

พระพุทธรูป ภ.ป.ร. ปี พ.ศ. 2506 ของทางวัดสังฆรามนี้ได้นำ เอาพุทธลักษณะที่ดีเด่น ของพระพุทธรูปทั้งสามสมัย ของลังกา,เชียงแสน และสุโขทัย มาร่วมผสมผสานกัน สร้างเป็นพระพุทธรูปประทับนั่ง เหนือดอกบัวค่ำและบัวหงายบนฐานเท้าสิงห์พาดพระหัตถ์ขวาหงายบนพระเพลาอันหมายถึงปางประทานพร ประดับพระทิพย์ด้วยตราพระปรมาภิไธยย่อ ภ.ป.ร. นับเป็นพระพุทธรูปแบบใหม่พิเศษแห่งยุคปัจจุบัน ที่มีสัญญลักษณ์ขององค์พระพุทธศาสนาและพระมหากษัตริย์ อันเป็นมิ่งขวัญและหลักชัยของชาติรวมอยู่ด้วยอย่างพร้อมบูรณ์นับเป็นก้าวใหม่และก้าวสำคัญของการพัฒนา การสร้างพระพุทธรูปในประเทศไทย และสมควรอย่างยิ่งที่จะยกย่องว่าเป็นพระพุทธรูป สมัยรัตนโกสินทร์ ยุคปัจจุบันโดยแท้

พระพุทธรูป ภ.ป.ร. จึงถือ กำเนิดขึ้นมา โดยนัยนี้

พระพุทธรูป ภ.ป.ร. ของวัด เทวสังฆาราม สร้างขึ้นเป็นพิเศษเพื่อประดิษฐานไว้ที่วัดเอง ขนาดหน้าตักกว้าง 22 นิ้ว 1 องค์ และ น้อมเกล้า ถวายแด่พระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัวขนาดหน้าตักกว้าง 12 นิ้ว1 องค์ส่วนที่สร้างสำหรับประชาชนนำไปสักการะบูชา มี 2 ขนาด คือขนาดหน้าตัก กว้าง 9 นิ้ว และ 5 นิ้ว จำนวนที่สร้างขึ้นรวมหมดทุกขนาดในคราวนั้นจำนวน 3,618 องค์ การหล่อสร้างองค์พระได้สำเร็จลุล่วงบริบูรณ์ โดยได้ทำพิธีปลุกเสก ครั้งสุดท้ายเมื่อวันที่ 30 เมษายน พ.ศ. 2507 และเริ่มแจกจ่ายให้ประชาชนที่สั่งจอง ตั้งแต่วันที่ 1 พฤษภาคม พ.ศ 2507 เป็นต้นไปจึงนับได้ว่าเป็นการสร้างพระพุทธรูป ภ.ป.ร. ครั้งแรกอย่างแท้จริง

พระพุทธรูป ภ.ป.ร. วัดเทวสังฆารามสร้างขึ้นให้ประชาชนเช่าบูชา 2 ขนาดคือ ขนาด 9 นิ้ว หล่อแบบแยกองค์กับฐานเป็น 2 ชิ้น ราคาเช่าบูชา 1,600 บาท ส่วนขนาด 5 นิ้ว หล่อแบบชั้นเดียว ราคาราคาเช่าบูชา 500 บาท

ต่อมาสมเด็จพระศรีนครินทราบรมราชชนนี ได้นำพระพุทธรูป ภ.ป.ร. ของวัดเทวสังฆาราม ไปพระราชทานแก่ทหาร-ตำรวจหน่วยราชการต่างๆฯลฯ รวมหลายแห่ง เป็นที่ชื่นชอบยินดีกันเป็นอันมาก สมเด็จพระศรีนครินทราฯจึงได้พระราชทานพระดำริว่าน่าจะได้มีการหล่อสร้างพระพุทธรูป ภ.ป.ร. ขึ้นอีก ที่วัดบวรนิเวศวิหาร เพื่อสนองความต้องการของผู้ศรัทธา

โดยเหตุนี้จึงได้มีการตั้งคณะกรรมการสร้างพระพุทธรูป ภ.ป.ร. ขึ้นอย่างเป็นทางการ จัดเป็นงานระดับชาติเมื่อเดือนกันยายน 2507 มีจอมพลถนอม กิตติขจร นายกรัฐมนตรีเป็นประธาน ร่วมด้วยกรรมการจากหน่วยราชการและสถาบันต่างๆอีกกว่า 50 คน แล้วตั้งเป็นคณะอนุกรรมการสร้างพระพุทธรูป ภ.ป.ร. ฝ่ายต่างๆขึ้นอีกหลายคณะ คือ อนุกรรมการ ฝ่ายอำนวยการ อนุกรรมการฝ่ายโฆษณา อนุกรรมการฝ่ายพิธี อนุกรรมการฝ่ายการเงิน อนุกรรมการฝ่ายตรวจและควบคุมการก่อสร้างอีกรวม 100 คน เพื่อดำเนินการในเรื่องนี้


วัตถุประสงค์ของการสร้างพระพุทธรูป ภ.ป.ร. เป็นครั้งที่ 2 ก็เพื่อนำรายได้ทูลเกล้าฯถวายเพื่อบูรณะพระโอสถ วัดบวรนิเวศวิหาร ซึ่งเป็นที่ประดิษฐานพระพุทธชินสีห็อันเป็นพระพุทธรูปสำคัญคู่กับพระพุทธชินราช และเป็นพระอารามที่พระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัวเสด็จประทับขณะทรงผนวช ส่วนหนึ่งเพื่อสร้างโรงเรียนสำหรับเด็กขึ้นที่วัดสังฆาราม จังหวัดกาญจนบุรี อันเป็นพระอารามที่เริ่มดำริสร้างพระพุทธรูปนี้ขึ้น ส่วนหนึ่ง เพื่อพระราชทานแก่องค์การสาธารณกุศลตามพระราชอัธยาศัยส่วนหนึ่ง

ในการนี้ คณะกรรมการได้ กำหนดการหล่อสร้าง แบ่งออกเป็น 3 ขนาดด้วยกัน และกำหนดราคาการสั่งจองดังนี้
พระพุทธรูป ภ.ป.ร. ขนาดหน้าตักกว้าง 9 นิ้ว รมดำ องค์ละ 1,600 บาท
พระพุทธรูป ภ.ป.ร. ขนาดหน้าตักกว้าง 5 นิ้ว รมดำ องค์ละ 500 บาท
พระกริ่ง ภ.ป.ร. สัมฤทธิ์ รมดำ องค์ละ 50 บาท

ต่อมาก็ได้มีประกาศเชิญชวนให้ข้าราชการ และประชาชนสั่งจองกันอย่างกว้างขวางแพร่หลายทั่วราชอาณาจักร ทั้งในส่วนกลางและส่วนภูมิภาค ทั้งในหน่วยราชการ องค์การและสถาบันต่างๆ ที่เกี่ยวกับการพระพุทธศาสนา ช่วยดำเนินการรับจองกันเป็นงานใหญ่ยิ่งจริงๆ กำหนดเขตรับจองครั้งแรก ภายในเดือนมีนาคม 2508 ต่อมาก็ขยายเวลาจองออกมาเป็นถึง 30 มิถุนายน 2508 ในที่สุดก็เลื่อนออกมาจนถึงสิ้นเดือนกันยายน 2508

ปรากฏว่ามีผู้สั่งจองกันอย่างมากมายเป็นประวัติการณ์ กล่าวคือ พระพุทธรูปขนาดหน้าตัก9นิ้วมีผู้จอง 4,247 องค์ ขนาดหน้าตัก 5 นิ้ว มีผู้สั่งจองถึง 21,449 องค์ นับเป็นการสร้างพระพุทธรูปครั้งมโหฬารใหญ่ยิ่งที่สุด ที่เคยมีมาในโลก

พระพุทธรูป ภ.ป.ร. ที่สร้างขึ้นเป็นรุ่นที่สองนี้ เดิมคณะกรรมการจะจัดสร้างตามแบบพระพุทธรูป ภ.ป.ร.รุ่นแรกที่สร้าง ณ วัดเทวสังฆาราม ทุกประการ แต่เมื่อคณะกรรมการได้นำพระพุทธรูปที่ได้ออกแบบหล่อสร้างแล้วขึ้นทูลเกล้าแก้ไขเปลี่ยนแปลงแบบ ให้ถูกต้องเหมาะสมกับพระพุทธลักษณะยิ่งขึ้นด้วยพระบรมราชวินิจฉัยของพระองค์เอง โดยมอบให้นายไพฑรูย์ เมื่องสมบูรณ์ นายช่างศิลป์กรมศิลปากรเป็นผู้ปั้นหุ่นพระพุทธรูปขนาดหน้าตัก 9 นิ้วขึ้นใหม่ ได้ทรงควบคุมการปั้นหุ่น ให้อยู่ในพระบรมราชวินิจฉัยโดยตลอด

พระพุทธรูป ภ.ป.ร. รุ่นสองนี้จึงนับได้ว่าเป็นพระพุทธรูป ภ.ป.ร.อย่างสมบูรณ์แบบจริงๆ นับได้ว่าพระราชทานกำเนิดพระพุทธรูปแบบรัชกาลที่9 ไว้เป็นอนุสรณ์แก่ชาวพุทธในราชอาณาจักรไทย สืบไปชั่วกาลนาน

พระพุทธรูป ภ.ป.ร. รุ่นสำคัญที่ทรงมีพระราชวินิจฉัยแก้ไขนี้มีพุทธลักษณะคล้ายคลึงใกล้เคียงไปทางพระพุทธรูปสมัยสุโขทัยเป็นอันมาก จึงแตกต่างจากพระพุทธรูป ภ.ป.ร.รุ่นแรก ที่สร้าง ณ วัด เทวสังฆาราม กาญจนบุรี

นอกจากนี้ยังได้พระราชทานภาษิต สำหรับจารึกไว้ที่ฐานด้านหน้าเพื่อเป็นสัญญลักษณ์ของชาติว่า "ทยุย ชาติยา ส สมาคุติ สติสญุชานเนน โภชิสิย รกุชนุติ" คนชาติไทยจะรักความเป็นไทอยู่ ได้ด้วยมีสติสำนึกอยู่ในความสามัคคี ส่วนที่ฐานด้านหลังมีแผ่นจารึกประกอบฐานด้วยข้อความว่า "เสด็จพระราชดำเนินพิธีหล่อ ณ วัดบวรนิเวศวิหาร เมื่อวันที่ 29 สิงหาคม พ.ศ. 2508"

ฉะนั้น พระพุทธรูป ภ.ป.ร. ที่สร้างครั้งใหญ่คราวนี้ จึงถือได้ว่าเป็นสัญญลักษณ์ของ ชาติ ศาสนา และ พระมหากษัตริย์ ครบบริบูรณ์พระพุทธรูปองค์นี้จึงมีคุณค่าทั้งทางศิลปะ ประติมากรรม ทางประวัติศาสตร์ และทางคุณธรรมแห่งจิตใจ

พระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัวได้เสด็จพระราชดำเนินไป ทรงเป็นประธานไปในพิธีพุทธาภิเษกและปลุกเสกโลหะต่างๆ ที่จะนำไปหล่อพระพุทธรูป ภ.ป.ร. เมื่อวันที่ 27 สิงหาคม พ.ศ. 2508 แล้วเสด็จไปทรงประกอบพิธีเททองหล่อพระพุทธรูปรุ่นนี้ ณ วัดบวรนิเวศวิหารเมื่อเย็นวันอาทิตย์ที่ 29 สิงหาคม พ.ศ. 2508

เนื่องจากพระพุทธรูปรุ่น ภ.ป.ร.รุ่นวัดบวรนิเวศวิหาร มีผู้พร้อมใจกันสั่งจองมากมายเป็นประวัติการณ์รวมจำนวนทั้งสิ้นถึงกว่า 25,000 องค์ ประกอบกับการดำเนินงานเป็นไปอย่างล่าช้าไม่ทันใจผู้จอง เวลา 3-4 ปีผ่านไปยังไม่มีวี่แววว่าจะได้รับพระพุทธรูปที่จองกันได้ง่ายๆจนถึงกับมีการต่อว่าต่อขานกันผ่านทางหน้า หนังสือพิมพ์ เมื่อการเลือกตั้ง ปี พ.ศ.2512 ผ่านไป ก็มีสมาชิกสภาผู้แทนตั้งกระทู้ถามในสภาถึงเรื่องการสร้างพระพุทธรูป ภ.ป.ร. นี้ ฉะนั้นพระพุทธรูป ภ.ป.ร. จึงต้องหล่อสร้างสำเร็จทะยอยออกมาเป็นรุ่นๆ มีการประกอบพิธีพุทธาภิเษกต่างกรรมต่างวาระกันไป เฉพาะอย่างยิ่งองค์ขนาดเล็กหน้าตัก 5 นิ้วนั้น รุ่นหลังต่อมาคณะกรรมการต้องมอบให้กรมธนารักษ์ สั่งซื้อเครื่องมือหล่อโลหะ ตามกรรมวิธีสมัยใหม่เข้ามาใช้เป็นครั้งแรก เพื่อหล่อสร้างให้เสร็จรวดเร็วทันต่อความต้องการของผู้จอง ซึ่งเป็นจำนวนกว่า 20,000องค์

การหล่อสร้างพระพุทธรูป ภ.ป.ร. ครั้งมโหฬารนั้นจึงต้องใช้เวลาดำเนินการนานถึง 7-8 ปีกว่าจะสำเร็จสิ้นลงไปหมด

นอกจากนั้นการหล่อสร้างตามจำนวนจองรุ่นสองนี้ ถึงกว่า 25,000 องค์แล้ว ทราบว่าทางวัดบวรนิเวศวิหารยังได้ขอพระราชทานพระบรมรานุญาติหล่อสร้างเป็นการพิเศษเพิ่มเติม เพื่อการหารายได้มาใช้จ่ายในการปฏิสังขรณ์วัดบวรนิเวศวิหารเป็นการต่างหากโดยเฉพาะอีกส่วนหนึ่งด้วย

พระพุทธรูป ภ.ป.ร. ปี พ.ศ. 2508 จึงนับว่าเป็นพระพุทธรูปที่ยิ่งใหญ่ มีจำนวนมากมายมหาศาลยิ่งกว่า พระพุทธรูปแบบอื่นใดทั้งสิ้นเท่าที่เคยมีการหล่อสร้างกันมาจากสมัยอดีต โบราณตราบกระทั่งถึงกาลปัจจุบัน

ในวงการนักนิยมสะสมพระทุกวันนี้ ถือกันว่าใครไม่มีพระพุทธรูป ภ.ป.ร.ไว้สักการะบูชาถือว่าไม่ใช่นักเลงพระอย่างแม้จริง

พระพุทธรูปที่มีความสำคัญอย่างยิ่งอีกองค์หนึ่ง ในรัชกาลปัจจุบันทีพระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัวฯ รัชกาลที่ 9 ทรงมีพระราชดำริให้มีการสร้างขึ้นอีกองค์หนึ่งคือพระพุทธนวราชบพิต เพื่อทรงพระราชทานให้ประดิษฐาน ประจำจังหวัดต่างๆ เพื่อให้ราษฎรของพระองค์ท่านได้สักการะ และเป็นที่ยึดเหนี่ยวจิตใจและศูนย์รวมน้ำใจของราษฎร


พระพุทธนวรราชบพิตรพระพุทธนวรราชบพิตร เป็นพระพุทธรูปปางมารวิชัย หน้าตักกว้าง 23 ซม. สูง 40 ซม พระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัวมีพระราชดำริที่จะให้สร้างขึ้น เพื่อประดิษฐานไว้ ณ จังหวัดต่างๆ ทุกจังหวัดทั่วราชอาณาเขต เมื่อ พ.ศ. 2509 และได้ทรงพระกรุณาโปรดเกล้าฯ ให้นายไพฑูรย์ เมื่องสมบูรณ์ ข้าราชการกองหัตถศิลปกรมศิลปากร เข้ามาปั้นหุ่นพระพุทธปฏิมากรนี้ในพระราชฐาน ณ พระตำหนักจิตรลดารโหฐาน และได้ทรงตรวจพระพุทะลักษณะของพระปฏิมานั้นจนเป็นที่พอพระราชหฤทัยแล้ว จึงได้โปรดเกล้าฯ ให้นายช่างเททองหล่อพระพุทธรูปนั้นขึ้น เมื่อวันที่ 28 เมษายน 2509 และได้โปรดเกล้าฯให้ขนานพระนามพระพุทะรูปนั้นว่า "พระพุทธนวราชบพิตร"

ที่ฐานบัวหงายของพระพุทธนวราชบพิตรนั้น ได้ทรงบรรจุพระพุทธรูปพิมพ์ไว้ 1 องค์ (พระพิมพ์พิจิตรลดา อันพระพุทธรูปพิมพ์นี้พระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัวได้ทรงสร้างขึ้นด้วยพระหัตถ์ ประกอบด้วยผงศักดิ์สิทธิ์ต่างๆ ทั้งในองค์พระและจากจังหวัดต่างๆ ทุกจังหวัด ดังที่มีรายละเอียดอยู่ตอนท้ายนี้

พระพุทธรูปนวราชบพิตร นั้นนอกจากจะเป็นนิมิตรหมายแห่งคุณพระรัตนตรัย อันเป็นที่เคารพบุชาสูงสุดแห่งพุทธศานิกชนทั่วไปแล้วยังเป็นนิมิตหมายแห่งความผุกพันเป็นอันหนึ่งอันเดียวกันกับองค์พระมหากษัตราธิราชกับบรรดาพสกนิกรของพระองค์ ในทุกจังหวัดทั่วราชอาณาจักรและพระพุทธรูปพิมพ์ซึ่งได้บรรจุไว้ที่ฐานบัวหงายนั้น ก็ประกอบด้วยวัตถุศักดิ์สิทธิ์ต่างๆอันศาสนิกชนทั่วราชอาณาจักรได้ปกิบัติชุชาสืบเนื่องกันมาเป็นเวลาช้านาน พระพุทธนวราชบพิตร จึงเป็นพระพุทธรูปที่สำคัญยิ่งองค๋หนึ่งในรัชกาลปัจจุบันจึงเห็นควรวางระเบียบปฏิบัติเกี่ยวกับพระพุทธนวราชบพิตรไว้ดังต่อไปนี้

1. เมื่อจังหวัดใดได้รับพระราชทานไปแล้ว ให้ประดิษฐานพระพุทธรูปนั้นไว้ ณ ที่อันควรในศาลากลางจังหวัด

2. เมื่อทางจังหวัดมีงานพิธีใดๆซึ่งต้องตั้งแต่บูชาพระรัตนตรัยก็ให้อัญเชิญพระพุทธนวราชบพิตร มาประดิษฐานเป็นพระบูชาในพิธีนั้นๆทั้งนี้ยกเว้นพิธีที่กระทำในโบสถ์ วิหารหรือปูชนียสถานใดๆซึ่งมีพระประธานหรือมีปูนชนียวัตถุอื่นใด เป็นประธานอยู่แล้ว และยกเว้นพิธีซึ่งต้องใช้พระพุทธรูปอื่นเป็นประธานโดยเฉพาะเช่นพระพุทธคันธารราษฎร์

3. เมื่อเสด็จพระราชดำเนินไปยังจังหวัดเพื่อทรงเป็นประธานพระราชพิธี หรือพิธีทางจังหวัดก็ดีก็ทำให้ทางจังหวัดอัญเชิญพระพุทธวราชบพิตรมาประดิษฐานเป็นพระประธานในพระราชพิธีและพิธีนั้นๆทุกครั้งหากพระราชพิธีหรือพิธีนั้นๆ กระทำในพระอารามหรือในปูชนียสถาน ซึ่งมีพระประธานหรือปูชนียวัตถุอื่นใดเป็นประธานอยู่แล้ว ก็ให้อัญเชิญพระพระพุทธนวราชบพิตรไปประดิษฐาน ณ ที่บุชาเป็นต่างจังหวัดอีกทีหนึ่ง เพื่อทรงนมัสการ

4. เมื่อเสด็จพระราชดำเนินไปทรงประกอบพระราชกรณียกิจ ณ จังหวัดให้ทางจังหวัดอัญเชิญพระพุทธนวราชบพิตรไปประดิษฐานไว้ ณ ที่บูชา เพื่อทรงนมัสการในพลับพลาหรือที่ประทับซึ่งได้จัดไว้ในกรณีนี้หากห้องที่เสด็จพระราชดำเนินนั้นห่างไกลจากศาลากลางจังหวัดและเป็นที่ทุรกันดารไม่สะดวกแก่การคมนาคมหรือการเสด็จพระราชดำเนินนั้นเป็นการเร่งด่วน หรือเพียงเป็นการเสด็จพระราชดำเนินผ่าน ทางจังหวัดจะพิจารณาให้งดเสียก็ได้ ตามแต่จะเห็นสมควร

5. เมื่อเสด็จพระราชดำเนินไปประทับแรม ณ จังหวัดใด ก็โปรดให้ทางจังหวัดอัญเชิญพระพุทธนวราชบพิตรมาประดิษฐานไว้ ณ ที่บูชา ในพลับพลาหรือในที่ประทับตลอดเวลาที่ประทับแรมอยู่ และให้อัญเชิญกลับไปยังศาลากลางเมื่อเสด็จพระราชดำเนินกลับแล้ว ในการนี้ให้กองมหาดเล็กปฏิบัติเช่นเดียวกับระเบียบแบบแผนที่มีอยู่แล้ว เกี่ยวกับพระชัยนวโลหะประจำราชกาล

6. หากทางจังหวัดเห็นสมควรจะอัญเชิญพระพุทธนวราชบพิตรออกให้ประชาชนได้นมัสการบูชาในงานเทศกาลใดๆก็ให้กระทำได้ตามแต่จะเห็นสมควร อนึ่ง การปิดทองที่องค์พระพุทธรูปนั้นอาจทำให้พระพุทธรุปเสียความงามไปได้บ้าง ถ้าหากทางจังหวัดจะได้ประดิษฐานพระพุทธนวราชบพิตรบนฐานซึ่งทำด้วยวัตถุอันอาจปิดทองได้อีกขั้น หนึ่งให้ประชาชนได้ปิดทองได้ ก็จะเป็นการเหมาะสมยิ่งนัก


นอกจากนี้ยังมีพระพุทธรูปที่จัดสร้างขึ้นในยุครัชกาลปัจจุบัน พระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัวฯ ที่ได้รับพระราชทานพระบรมราชานุญาติให้ประดับพระปรมาภิไธยย่อ ภ.ป.ร. ไว้ที่ผ้าทิพย์ เช่น พระพุทธชินราชจำลอง ภ.ป.ร. จัดสร้างโดย กองทัพภาคที่ 3 สมัยพลเอกสำราญ แพทยกุล เป็นประธานดำเนินการจัดสร้าง ณ วัดพระศรีมหาธาตุ จังหวัดพิษณุโลกเมื่อ พ.ศ. 2516 ทำการปั้นหุ่นโดย ส.จ.อ. ทวี บูรณเฃตต์ ช่างปั้นที่มีชื่อ โดยจัดสร้างจำลองขนาด 9 นิ้ว ลงรักปิดทอง ราคาจอง 3,600 บาท หลังจองราคา 5,500 บาท


พระพุทธรูปปางประทานพร ภ.ป.ร. จำลองจากพระพุทธรูป ภ.ป.ร. ปี พ.ศ. 2508 โดยจำลองจากองค์จริงทุกประการ หรือรูปแบบและขนาดยกเว้นแต่ผ้าทิพย์แทนที่จะเป็นพระปรมาภิไธยย่อภายใต้พระมหามงกุฏกลับเป็นพระสถูปเจดีย์ แบบพุกรคยา ที่วัดธรรมมงคล และมีพระปรมาภิไธยย่อ ภ.ป.ร. เรียงกันเป็นแถวยาวอยู่ใต้ผ้าทิพย์ มีอักษรจารึกว่าโปรดเกล้าให้จำลองพระพุทธรูป ภ.ป.ร. เมื่อวันที่ 15 กรกฎาคม พ.ศ. 2518 และทรงเสด็จพระราชดำเนินเททอง เมื่อวันที่ 21 เมษายน 2519 จำนวนที่สร้างให้ประชาชนเช่าบูชา 2 ขนาด คือ 9 นิ้ว จำนวนที่สร้างมีไม่มากนัก


พระพุทธรูปปางประทานพร ภ.ป.ร. แบบยกพระหัตถ์ขวาเหนือพระอุระ ของวัดไทยในนครลอสแองเจลิสได้รับพระราชพระบรมราชานุญาตให้ประดับพระปรมาภิไธยย่อ ภ.ป.ร. ไว้ที่ผ้าทิพย์ และทรงเสด็จพระราชดำเนินเททองที่วัดโพธิ์เมื่อวันที่ 30 พฤศจิกายน พ.ศ. 2522 เป็นพระพุทธรูปปางประทานพรแบบยกพระหัตถ์ขวาเหนือพระอุระ ที่ฐานจารึกคำว่า "พระพุทธนรเทพศาสดาทิพยนคราภิมงคลสถิต" ส่วนด้านหลังประดับรูปธงชาติไทยและธงชาติสหรัฐอเมริกา ทั้ง 2 ด้านตรงกลางเป็นธรรมจักรและจารึกเป็นภาษาไทยและอังกฤษว่า วัดไทย ลอสแองเจลีส


WAT THAI OF LOS ANGELES สร้างเป็นพระประทานประดิษฐานไว้ ณ วัดไทย ในนครลอสแองเจลีส สหรัฐอเมริกา และได้จัดสร้างองค์จำลองขนาด 9 นิ้ว และ 5 นิ้ว ให้ชาวไทยเช่าบูชา ขนาด 9 นิ้ว ราคา 200 ดอลลาร์ ขนาด 5 นิ้ว ราคา 100 ดอลลาร์ เพื่อให้ชุมชนชาวไทยในต่างแดนโดยเฉพาะในสหรัฐอเมริกาได้มีโอกาสเช่าบูชาไว้เพื่อเป็นศิริมงคลประจำบ้าน ถึงแม้จะไม่ได้อยู่ในประเทศไทย จำนวนที่สร้างไม่มากนัก และไม่ค่อนพบเห็นในประเทศไทย จึงเป็นพระพุทธรูป ภ.ป.ร. อีกองค์หนึ่งที่หาชมได้ยาก

Sunday, May 13, 2007


บันทึก(ไม่)ลับอุบาสกนิรนาม

(ผู้เขียนได้ปรับปรุงจากต้นฉบับเรื่องประสบการณ์ภาวนา ซึ่งเคยส่งไปลงพิมพ์ในหนังสือโลกทิพย์ ในนามสันตินันทอุบาสก)
ผมลังเลใจอยู่นานที่จะเล่าถึงการปฏิบัติธรรมของตนเอง เพราะมันเป็นเพียงเรื่องเล็กๆ น้อยๆ ซึ่งถ้าใครตั้งใจปฏิบัติก็ทำกันได้ แต่ด้วยความเคารพในคำสั่งของครูบาอาจารย์รูปหนึ่ง คือหลวงพ่อพุธ ฐานิโย แห่งวัดป่าสาลวัน ที่ท่านสั่งให้เขียนเรื่องนี้ออกเผยแพร่ ผมจึงต้องปฏิบัติตาม โดยเขียนเรื่องนี้ให้ท่านอ่าน

ผมเป็นคนวาสนาน้อย ไม่เคยรู้เรื่องพระธุดงคกรรมฐานอย่างจริงจังมาก่อน จนแทบจะละทิ้งพระพุทธศาสนาไปแล้ว เพราะเกิดตื่นเต้นกับลัทธิวัตถุนิยม แต่แล้ววันหนึ่ง ผมได้พบข้อธรรมสั้นๆบทหนึ่งของหลวงปู่ดูลย์ อตุโล แห่งวัดบูรพาราม จังหวัดสุรินทร์ มีสาระสำคัญว่า "จิตส่งออกนอกคือสมุทัย มีผลเป็นทุกข์ จิตเห็นจิตอย่างแจ่มแจ้งเป็นมรรค มีผลเป็นนิโรธ"

ผมเกิดความซาบซึ้งจับจิตจับใจ และเห็นจริงตามว่า ถ้าจิตไม่ออกไปรับความทุกข์แล้ว ใครกันล่ะที่จะเป็นผู้ทุกข์ จิตใจของผมมันยอมรับนับถือหลวงปู่ดูลย์เป็นครูบาอาจารย์ตั้งแต่นั้น

ต่อมาในต้นปี พ.ศ. 2525 ผมมีโอกาสด้นดั้นไปนมัสการหลวงปู่ดูลย์ที่จังหวัดสุรินทร์ เมื่อไปถึงวัดของท่านแล้ว เกิดความรู้สึกกลัวเกรงเป็นที่สุด เพราะท่านเป็นพระเถระผู้ใหญ่ และไม่เคยรู้จักอัธยาศัยของท่านมาก่อน ประกอบกับผมไม่คุ้นเคยที่จะพบปะพูดจากับพระผู้ใหญ่มาก่อนด้วย จึงรีรออยู่ห่างๆ นอกกุฏิของท่าน
ขณะที่รีรออยู่ครู่หนึ่งนั้น หลวงปู่ดูลย์เดินออกมาจากกุฏิของท่าน มาชะโงกมองดูผม ผมจึงรวบรวมความกล้าเข้าไปกราบท่านซึ่งถอยกลับไปนั่งเก้าอี้โยกที่หน้าประตูกุฏิ แล้วเรียนท่านว่า "ผมอยากภาวนาครับหลวงปู่"

หลวงปู่หลับตานิ่งเงียบไปเกือบครึ่งชั่วโมง พอลืมตาท่านก็แสดงธรรมทันทีว่า การภาวนานั้นไม่ยาก แต่มันก็ยากสำหรับผู้ไม่ภาวนา ขั้นแรกให้ภาวนา "พุทโธ" จนจิตวูบลงไป แล้วตามดูจิตผู้รู้ไป จะรู้อริยสัจจ์ 4 เอง (หลวงปู่ท่านสอนศิษย์แต่ละคนด้วยวิธีที่แตกต่างกันตามจริตนิสัย นับว่าท่านมีอนุสาสนีปาฏิหารย์อย่างสูง) แล้วท่านถามว่าเข้าใจไหม ก็กราบเรียนว่าเข้าใจ ท่านก็บอกให้กลับไปทำเอา

พอขึ้นรถไฟกลับกรุงเทพเกิดเฉลียวใจขึ้นว่า ท่านให้เราดูจิตนั้นจะดูอย่างไร จิตมันเป็นอย่างไร อยู่ที่ไหนและจะเอาอะไรไปดู ตอนนั้นชักจะกลุ้มใจไม่ทราบว่าจะทำอย่างไร ก็ภาวนาพุทโธไปเรื่อยๆจนจิตสงบลง แล้วพิจารณาว่าจิตจะต้องอยู่ในกายนี้แน่ หากแยกแยะเข้าไปในขันธ์ 5 ถึงอย่างไรก็ต้องเจอจิต จึงพิจารณาเข้าไปที่รูปว่าไม่ใช่จิต รูปก็แยกออกเป็นสิ่งที่ถูกรู้เท่านั้น หันมามองเวทนาแล้วแยกออกเป็นอีกส่วนหนึ่ง ตัวสัญญาก็แยกเป็นอีกส่วนหนึ่ง จากนั้นมาแยกตัวสังขารคือความคิดนึกปรุงแต่ง โดยนึกถึงบทสวดมนต์ เห็นความคิดบทสวดมนต์ผุดขึ้น และเป็นสิ่งที่ถูกรู้ ถึงตอนนี้ก็เลยจับเอาตัวจิตผู้รู้ขึ้นมาได้ หลังจากนั้น ผมได้ตามดูจิตไปเรื่อยๆ จนสามารถรู้ว่า ขณะนั้นเกิดกิเลสขึ้นกับจิตหรือไม่ ถ้าเกิดขึ้นและรู้ทัน กิเลสมันก็ดับไปเอง เหลือแต่จิตผู้รู้ ซึ่งรู้ความรู้สึกนึกคิดปรุงแต่งไปเรื่อยๆอย่างเป็นอิสระจากกิเลส และอารมณ์ต่างๆ ต่อมาภายหลังผมได้หาหนังสือธรรมะมาอ่าน จึงรู้ว่าในทางปริยัติธรรมจัดเป็นการจำแนกรูปนาม จัดเป็นการเจริญวิปัสสนาแล้ว แต่ในเวลาปฏิบัตินั้น จิตไม่ได้กังวลสนใจว่าเป็นวิปัสสนาญาณขั้นใด

ปฏิบัติอยู่ 3 เดือน จึงไปรายงานผลกับหลวงปู่ดูลย์ว่า "ผมหาจิตเจอแล้ว จะต้องปฏิบัติอย่างไรต่อไป" คราวนี้ปรากฏว่าท่านแสดงธรรมอันลึกซึ้งมากมาย เกี่ยวกับการถอดถอนทำลายอุปาทานในขันธ์ 5 ท่านสอนถึงกำเนิดและการทำงานของจิตวิญญาณ จนถึงการเจริญอริยมรรค จนมีญาณเห็นจิตเหมือนมีตาเห็นรูป

ท่านสอนอีกว่า เมื่อเราดูจิต คือตามรู้จิตเรื่อยๆ ไปนั้น สิ่งปรุงแต่งจะดับไปตามลำดับ จนถึงความว่าง แต่ในความว่างนั้นยังไม่ว่างจริง มันมีสิ่งละเอียดเหลืออยู่คือวิญญาณ ให้ตามรู้จิตเรื่อยๆ ไป ความยึดในวิญญาณจะถูกทำลายออกไปอีก แล้วจิตจริงแท้หรือพุทธะ(หลวงปู่เทสก์เรียกว่าใจ) จึงปรากฎออกมา
คำสอนครั้งนี้ลึกซึ้งกว้างขวางเหมือนฝนตกทั่วฟ้า แต่ภูมิปัญญาของผมมีจำกัด จึงรองน้ำฝนไว้ได้เพียงถ้วยเดียว คือได้เรียนถามท่านว่า "ที่หลวงปู่สอนมาทั้งหมดนี้ หากผมจะปฏิบัติด้วยการดูจิตไปเรื่อยๆจะพอไหม"

หลวงปู่ดูลย์ตอบว่า "การปฏิบัติก็มีอยู่เท่านั้นแหละ แม้จะพิจารณากายหรือกำหนดนิมิตหมายใดๆ ก็เพื่อให้ถึงจิตถึงใจตนเองเท่านั้น นอกจากจิตแล้วไม่มีสิ่งใดอีก พระธรรม 84,000 พระธรรมขันธ์ก็รวมลงที่จิตตัวเดียวนี้เอง
หลังจากนั้นผมก็เพียรดูจิตเรื่อยๆ มา มีสติเมื่อใดดูเมื่อนั้น ขาดสติแล้วก็แล้วกันไป นึกขึ้นได้ก็ดูใหม่ เวลาทำงานก็ทำไป พอเหนื่อยหรือเครียดก็ย้อนดูจิต เลิกงานแล้วแม้มีเวลาเล็กน้อยก็ดูจิต ดูอยู่นั่นแหละ ไม่นานก็เห็นความเปลี่ยนแปลงในตัวเองอย่างไม่น่าจะเป็นไปได้

วันหนึ่งของอีก 4 เดือนต่อมา ขณะนั้นเป็นเวลาเย็นปลายเดือนกันยายน 2525 ได้เกิดพายุพัดหนัก ผมออกจากที่ทำงานเปียกฝนไปทั้งตัว และได้เข้าไปหลบฝนอยู่ในกุฏิพระหลังหนึ่งในวัดใกล้ๆ ที่ทำงาน ได้นั่งกอดเข่ากับพื้นห้องเพราะไม่กล้านั่งตามสบายเนื่องจากตัวเราเปียกมากกลัวกุฏิพระจะเลอะมาก พอนั่งลงก็เกิดเป็นห่วงร่างกายว่า ร่างกายเราไม่แข็งแรง คราวนี้คงไม่สบายแน่

สักครู่ก็ตัดใจว่า ถ้าจะป่วยมันก็ต้องป่วย นี่กายยังไม่ทันป่วยใจกลับป่วยเสียก่อนแล้วด้วยความกังวล พอรู้ตัวว่าจิตกังวลผมก็ดูจิตทันที เพราะเคยฝึกดูจนเป็นนิสัยแล้ว ขณะนั้นนั่งกอดเข่าลืมตาอยู่แท้ๆ แต่ประสาทสัมผัสทางกายดับหายไปหมด โลกทั้งโลก เสียงฝน เสียงพายุหายไปหมด เหลือแต่สติที่ละเอียดอ่อนประคองรู้อยู่เท่านั้น (ไม่รู้ว่ารู้อะไรเพราะไม่มีสัญญา) ต่อมามันมีสิ่งละเอียดๆ ผ่านมาสู่ความรับรู้ของจิตเป็นระยะๆแต่ไม่รู้ว่าสิ่งนั้นคืออะไร เพราะจิตไม่มีความสำคัญมั่นหมายใดๆ ต่อมาจิตมีอาการไหวดับวูบลง สิ่งที่ผ่านมาให้รู้ดับไปหมดแล้ว แล้วก็รู้ชัดเหมือนตาเห็นว่า ความว่างที่เหลืออยู่นั้น ถูกแหวกพรวดอย่างรวดเร็วและนุ่มนวลออกไปอีก กลายเป็นความว่างที่บริสุทธิ์หมดจดอย่างแท้จริง

ในความว่างนั้น จิตซึ่งเป็นอิสระแล้วได้อุทานขึ้นว่า "เอ๊ะ จิต ไม่ใช่เรานี่" จากนั้นจิตได้มีอาการปิติยินดี ยิ้มแย้มแจ่มใสขึ้น พร้อมๆ กับเกิดแสงสว่างโพลงขึ้นรอบทิศทาง จากนั้นจิตจึงรวมสงบลงอีกครั้งหนึ่งแล้วถอนออกจากสมาธิ เมื่อความรับรู้ต่างๆ กลับมาสู่ตัวแล้ว ถึงกับอุทานในใจ(จิตไม่ได้อุทานอย่างทีแรก)ว่า "อ้อ ธรรมะเป็นอย่างนี้เอง เมื่อจิตไม่ใช่ตัวเราเสียแล้ว สิ่งใดสิ่งหนึ่งก็ไม่เป็นตัวเราอีกต่อไป"

เมื่อผมไปกราบหลวงปู่ดูลย์ และเล่าเรื่องนี้ให้ท่านทราบ พอเล่าว่าสติละเอียดเหมือนเคลิ้มๆ ไป ท่านก็อธิบายว่า จิตผ่านฌานทั้ง 8
ผมได้แย้งท่านตามประสาคนโง่ว่า ผมไม่ได้หัดเข้าฌาน และไม่ได้ตั้งใจจะเข้าฌานด้วย
หลวงปู่ดูลย์อธิบายว่า ถ้าตั้งใจก็ไม่ใช่ฌาน และขณะที่จิตผ่านฌานอย่างรวดเร็วนั้น จิตจะไม่มานั่งนับว่ากำลังผ่านฌานอะไรอยู่ การดูจิตนั้นจะได้ฌานโดยอัตโนมัติ (หลวงปู่ไม่ชอบสอนเรื่องฌาน เพราะเห็นเป็นของธรรมดาที่จะต้องผ่านไปเอง หากสอนเรื่องนี้ ศิษย์จะมัวสนใจฌานทำให้เสียเวลาปฏิบัติ)

พอผมเล่าว่าจิตอุทานได้เอง หลวงปู่ก็บอกอาการต่างๆ ที่ผมยังเล่าไม่ถึงออกมาตรงกับที่ผมผ่านมาแล้วทุกอย่าง แล้วท่านก็สรุปยิ้มๆว่า จิตยิ้มแล้ว พึ่งตัวเองได้แล้ว ถึงพระรัตนตรัยแล้ว ต่อไปนี้ไม่จำเป็นต้องมาหาอาตมาอีก

แล้วท่านแสดงธรรมเรื่อง จิตเหนือเหตุ หรือ อเหตุกจิต ให้ฟังมีใจความว่า อเหตุกจิต มี 3 ประการคือ
1. ปัญจทวารวัชนจิต ได้แก่ความไหวตัวของจิตขึ้นรับรู้อารมณ์ทางตา หู จมูก ลิ้น และกาย
2. มโนทวารวัชนจิต ได้แก่ความไหวตัวของใจขึ้นรับรู้อารมณ์ทางใจ
3. หสิตุปปาท หรือจิตยิ้ม เป็นการแสดงความเบิกบานของจิตที่ปราศจากอารมณ์ปรุงแต่ง เพื่อแสดงความมีอยู่ของจิตซึ่งไม่มีตัวตนให้ปรากฏออกมาสู่ความรับรู้

อเหตุกจิต 2 อย่างแรกเป็นของสาธารณะ มีทั้งในปุถุชนและพระอริยเจ้า แต่จิตยิ้มเป็นโลกุตรจิต เป็นจิตสูงสุด เกิดขึ้นเพียง 3 - 4 ครั้งก็ถึงที่สุดแห่งทุกข์

หลังจากนั้นผมก็ปฏิบัติด้วยการดูจิตเรื่อยมา และเห็นว่าเวลามีการกระทบทางตา หู จมูก ลิ้น และกาย จะมีคลื่นวิ่งเข้าสู่ใจ หรือบางครั้งก็มีธรรมารมณ์เป็นคลื่นเข้าสู่ใจ

หากขณะนั้นขาดสติ จิตจะส่งกระแสไปยึดอารมณ์นั้น ตอนนั้นจิตยังไม่ละเอียดพอ ผมเข้าใจว่าจิตวิ่งไปยึดอารมณ์แล้วขยับๆ ตัวเสวยอารมณ์อยู่จึงไปเรียนให้หลวงปู่ดูลย์ทราบ ท่านกลับตอบว่า จิตจริงแท้ไม่มีการไป ไม่มีการมา

ผมได้มาดูจิตต่ออีกสักครึ่งปีต่อมา วันหนึ่งจิตผ่านเข้าสู่อัปปนาสมาธิและเดินวิปัสสนา คือมีสิ่งให้รู้ผ่านมาสู่จิต แต่จิตไม่มีความสำคัญมั่นหมายว่าคือสิ่งใด จากนั้นเกิดอาการแยกความว่างขึ้นแบบเดียวกับเมื่อจิตยิ้ม คราวนี้จิตพูดขึ้นเบาๆว่า จิตไม่ใช่เรา แต่ต่อจากนั้นแทนที่จิตจะยิ้ม จิตกลับพลิกไปสู่ภูมิของสมถะ ปรากฏนิมิตเป็นเหมือนดวงอาทิตย์โผล่ผุดขึ้นจากสิ่งห่อหุ้ม แต่โผล่ไม่หมดดวง เป็นสิ่งแสดงให้รู้ว่ายังไม่ถึงที่สุดของการปฏิบัติ

ปรากฏการณ์นี้เป็นเครื่องพิสูจน์ว่า การดำเนินของจิตในขั้นวิปัสสนานั้นหากสติอ่อนลง จิตจะวกกลับมาสู่ภูมิของสมถะ และวิปัสสนูปกิเลสจะแทรกเข้ามาตรงนี้ถ้าไม่กำหนดรู้ให้ชัดเจนว่า วิปัสสนาพลิกกลับเป็นสมถะไปแล้ว นักปฏิบัติจึงต้องระวังให้มาก โดยเฉพาะผู้ที่ยังไม่เคยพบกับจิตยิ้ม (สำนวนของหลวงปู่ดูลย์) หรือใจ (สำนวนของหลวงปู่เทสก์) หรือจิตรวมใหญ่ (สำนวนของท่านอาจารย์สิงห์)

เมื่อผมนำเรื่องนี้ไปรายงานหลวงปู่ดูลย์ ท่านก็ว่า ดีแล้ว ให้ดูจิตต่อไป

ผมก็ทำเรื่อยๆ มา ส่วนมากเป็นการดูจิตในชีวิตประจำวัน ไม่ค่อยได้นั่งสมาธิแบบเป็นพิธีการ ต่อมาอีก 1 เดือน วันหนึ่งขณะนั่งสนทนาธรรมอยู่กับน้องชาย จิตเกิดรวมวูบลงไป มีการแยกความว่างซึ่งมีขันธ์ละเอียด(วิญญาณขันธ์) ออกอีกทีหนึ่ง แล้วจิตก็หัวเราะออกมาเองโดยปราศจากอารมณ์ (ร่างกายไม่ได้หัวเราะ) มันเป็นการหัวเราะเยาะกิเลสว่า มันผูกมัดมานาน ต่อๆ ไป จิตจะเป็นอิสระยิ่งขึ้นไปเรื่อยๆ

เหตุการณ์นี้ทำให้ได้ความรู้ชัดว่า ทำไมเมื่อครั้งพุทธกาล จึงมีผู้รู้ธรรมในขณะฟังธรรมเกิดขึ้นได้เป็นจำนวนมาก

ผมนำเรื่องนี้ไปรายงานหลวงปู่ดูลย์ คราวนี้ท่านไม่ได้สอนอะไรอีกเพียงแต่ให้กำลังใจว่า ให้พยายามทำให้จบเสียแต่ในชาตินี้ หลังจากนั้นไม่นานท่านก็มรณภาพ

หลวงพ่อพุธ ฐานิโย ซึ่งเป็นครูบาอาจารย์อีกรูปหนึ่ง เคยสั่งให้ผมเขียนเรื่องการปฏิบัติของตนเองออกเผยแพร่ เพราะอาจมีผู้ที่มีจริตคล้ายๆ กันได้ประโยชน์บ้าง ผมจึงเขียนเรื่องนี้ขึ้น เพื่อสนองคำสั่งครูบาอาจารย์ และเพื่อรำลึกถึงหลวงปู่ดูลย์ อตุโล ผู้เปี่ยมด้วยอนุสาสนีปาฏิหารย์ รวมทั้งหวังว่าจะเป็นประโยชน์สักเล็กน้อย สำหรับท่านที่กำลังแสวงหาหนทางปฏิบัติอยู่

พระอริยะบุคคล


นะโมตัสสะ ภะคะวะโต อะระหะโต สัมมาสัมพุทธัสสะ
นะโมตัสสะ ภะคะวะโต อะระหะโต สัมมาสัมพุทธัสสะ
นะโมตัสสะ ภะคะวะโต อะระหะโต สัมมาสัมพุทธัสสะ

สัพพัง อะปะราธัง ขะมะถะ เม ภันเต อุกาสะ ทวารัตตะเยนะ กะตัง
สัพพัง อะปะราธัง ขะมะถะ เม ภันเต อุกาสะ ขะมามิ ภันเต ฯ

หากข้าพระพุทธเจ้า ได้เคยประมาทพลาดพลั้ง ล่วงเกินต่อพระรัตนตรัย อันมีพระพุทธเจ้าทุก ๆ พระองค์ พระปัจเจกพุทธเจ้าทุก ๆ พระองค์ พระธรรม พระอริยสงฆ์ พระอริยะบุคคล และผู้บรรพบุรุษบุพการีผู้มีพระคุณทั้งหลายในชาติก่อนก็ดี ชาตินี้ ก็ดี ด้วยกายก็ดี วาจาก็ดี ทั้งที่เจตนาและไม่เจตนาก็ดี รู้เท่าไม่ถึงการณ์ก็ดี ขอองค์สมเด็จ พระสัมมาสัมพุทธเจ้าทุก ๆ พระองค์ พระปัจเจกพุทธเจ้าทุก ๆ พระองค์ พระธรรม พระอริยสงฆ์ พระอริยะบุคคล และบรรพบุรุษบุพการีผู้มีพระคุณทุก ๆ ท่านได้โปรดยกโทษ ให้แก่ข้าพระพุทธเจ้า ตั้งแต่บัดนี้เป็นต้นไป ตราบเท่าเข้าสู่ พระนิพพานด้วยเทอญ ฯ สาธุ


พระโสดาบัน
หมายถึงการลดลงของ โลภะ โทสะ โมหะ (ความโลภ ความโกรธ ความหลงผิด)

พระสกิทาคา
หมายถึงการลดบางลงของกิเลสทั้ง ๓ คือ โลภะ โทสะ โมหะ จนเกือบไม่เหลือ

พระอนาคามี
หมายถึงการหมดไปของกิเลส และหมดความกำหนัด รักใคร่

พระอรหันต์
หมายถึงการตัดกิเลสทั้งปวงได้อย่างสิ้นเชิง สิ้นภพสิ้นชาติแล้ว ไม่เวียนว่ายตายเกิดอีกต่อไป ตามตำราท่านว่าหากเมื่อถึงขั้นนี้แล้ว ถ้าเป็นคฤหัสถ์จะครองตนอยู่ในความเป็นคฤหัสถ์ได้ไม่เกิน ๗ วัน จะต้องเข้านิพพาน หากแต่เป็นบรรพชิตก็จะอยู่ในนิพพานได้ตลอดจนกระทั่งดับขันธ์ ท่านเปรียบว่าเหมือนกับการที่เป็นดวงแก้วอันบริสุทธิ์แล้ว ก็ไม่สามารถจะทนปะปนอยู่กับของโสโครก หรือโคลนตมได้ เหมือนกับเทพชั้นสูงที่ท่านรู้สึกรังเกียจในกลิ่นกิเลสของมนุษย์ฉันใดฉันนั้น

พระสัมมาสัมพุทธเจ้าได้สรุปไว้อย่างแยบคายว่า
ปุถุชนย่อมไม่รู้จิตของพระโสดาบัน
พระโสดาบันย่อมไม่รู้จิตของพระสกทาคามี
พระสกทาคามีย่อมไม่รู้จิตของพระอนาคามี
พระอนาคามีย่อมไม่รู้จิตของพระอรหันต์
บุคคลชั้นต่ำย่อมไม่รู้จิตของบุคคลชั้นสูงๆ (หมายถึงคุณธรรม)
บุคคลชั้นสูงย่อมรู้จิตของบุคคลชั้นต่ำ

สติปัฏฐาน ๔


๑.การตั้งสติพิจารณากาย (กายานุปัสสนา)
๒.การตั้งสติพิจารณาอารมณ์ (เวทนานุปัสสนา)
๓.การตั้งสติพิจารณาใจที่เศร้าหมองหรือผ่องแผ้ว (จิตตานุปัสสนา)
๔.การตั้งสติพิจารณาธรรมที่เป็นกุศลหรืออกุศล (ธัมมานุปัสสนา)

กายานุปัสสนา การตั้งสติพิจารณากาย แบ่งย่อยออกไปเป็น 6 ส่วน (การตั้งสติกำหนดพิจารณากายให้รู้เห็นตามความเป็นจริงว่า เป็นแต่เพียงกาย ไม่ใช่สัตว์บุคคล ตัวตนเราเขา)
1) อานาปานสติ กำหนดลมหายใจเข้า-ออก
2) อิริยาบถ กำหนดให้รู้เท่าทันอิริยาบถ
3) สัมปชัญญะ ความรู้ตัวในการเคลื่อนไหวทุกอย่าง
4) ปฏิกูลมนสิการ พิจารณาส่วนประกอบของร่างกาย (อวัยวะต่าง ๆ) ว่าเป็นของไม่สะอาด
5) ธาตุมนสิการ พิจารณาร่างกายของตนให้เห็นว่าเป็นสักแต่ว่าธาตุแต่ละอย่าง ๆ
6) นวสีวถิกา พิจาณาซากศพในสภาพต่าง ๆ ตั้งแต่เริ่มตายใหม่ ๆ จนถึงกระดูกป่นเป็นผุยผง (อันแตกต่างกันใน 9 ระยะเวลา ท่านเรียกว่าป่าช้า 9) ให้เห็นว่าเป็นคติธรรม ร่างกายของผู้อื่น (ซากศพที่กำลังพิจารณา) เป็นเช่นใด ร่างกายของเราก็จักเป็นเช่นนั้น (รวมเป็น 6 ส่วน)

เวทนานุปัสสนา (การตั้งสติกำหนดพิจารณาเวทนา คือ การรู้สึกอารมณ์ให้รู้เห็นตามความเป็นจริงว่าเป็นเพียงเวทนา ... ที่เป็นอยู่ในขณะนั้น ๆ)
1) สุข
2) ทุกข์
3) ไม่ทุกข์ไม่สุข
4) สุขประกอบด้วยอามิส
5) สุขไม่ประกอบด้วยอามิส
6) ทุกข์ประกอบด้วยอามิส
7) ทุกข์ไม่ประกอบด้วยอามิส
8) ไม่ทุกข์ไม่สุขประกอบด้วยอามิส
9) ไม่ทุกข์ไม่สุข ไม่ประกอบด้วยอามิส (รวมเป็น 9 อย่าง)

จิตตานุปัสสนา (การตั้งสติกำหนดพิจารณาจิต ...)
1) จิตมีราคะ
2) จิตไม่มีราคะ
3) จิตมีโทสะ
4) จิตไม่มีโทสะ
5) จิตมีโมหะ
6) จิตไม่มีโมหะ
7) จิตหดหู่
8) จิตฟุ้งซ่าน
9) จิตใหญ่ (จิตในฌาน)
10) จิตไม่ใหญ่ (จิตที่ไม่ถึงฌาน)
11) จิตมีจิตอื่นยิ่งกว่า
12) จิตไม่มีจิตอื่นยิ่งกว่า
13) จิตตั้งมั่น
14) จิตไม่ตั้งมั่น
15) จิตหลุดพ้น
16) จิตไม่หลุดพ้น (รวม 16 อย่าง)

ธัมมานุปัสสนา (การตั้งสติกำหนดพิจารณาธรรม ...)
1) พิจารณาธรรมที่กั้นจิตไม่ให้บรรลุสมาธิ คือ นีวรณ์ 5 มี กามฉันท์ พยาบาท ถีนมิทธะ อุทธัจจกุกกุจะ และวิจิกิจฉา) เรียกว่า นี วรณบรรพ
2) ขันธ์ 5 คือ รูป เวทนา สัญญา สังขาร และวิญญาณ เรียกว่า ขันธบรรพ
3) อายตนะภายใน 6 คือ ตา หู จมูก ลิ้น กาย และใจ เรียกว่า อายตนบรรพ
4) ธรรมที่เป็นองค์แห่งการตรัสรู้ 7 คือ โพชฌงค์ 7 (สติ ธัมมวิจยะ วิริยะ ปีติ ปัสสัทธิ สมาธิ และอุเบกขา) เรียกว่า โพชฌงคบรรพ

ตั้งสติกำหนดรู้ชัดธรรมทั้งหลายมี
...นีวรณ์ 5 (กามฉันท์ พยาบาท ถีนมิทธะ อุทธัจจกุกกุจจะ และวิจิกิจฉา)
...ขันธ์ 5 (รูป เวทนา สัญญา สังขาร และวิญญาณ)
...อายตนะภายใน 6 (ตา หู จมูก ลิ้น กาย และใจ)
...อายตนะภายนอก 6 (รูป เสียง กลิ่น รส โผฏฐัพพะและธัมมารมณ์)
...โพชฌงค์ 7 (สติ ธัมมวิจยะ วิริยะ ปิติ ปัสสัทธิ [ความสงบกาย-สงบใจ] สมาธิ อุเบกขา)
...อริยสัจจ์ 4 (ทุกข์ ทุกขสมุทัย ทุกขนิโรธ ทุกขนิโรธคามินีปฏิปทา)
ว่าคืออะไร เป็นอย่างไร มีในตนหรือไม่ เกิดขึ้น เจริญขึ้นและดับไปอย่างไร เป็นต้น ตามความเป็นจริงของสรรพสิ่ง อย่างนั้น ๆ (รวม 5 ส่วน)


พระสัมมาสัมพุทธเจ้าทรงแสดงถึงพฤติกรรมของจิตมนุษย์พร้อมวิธีแก้ไขพฤติกรรม
ในหลักพระพุทธศาสนาได้จำแนกพฤติกรรมของจิต เรียกว่าจริต (ความประพฤติเป็นปกติ; พื้นฐานของจิต ที่หนักไปทางใดทางหนึ่ง) ออกเป็น 6 ชนิด

พฤติกรรมของจิด
1) ราคจริต (ผู้หนักไปทางรักสวยรักงาม)
2) โทสจริต (ผู้หนักไปทางใจร้อน หงุดหงิด โกรธง่ายคิดประทุษร้าย)
3) โมหจริต (ผู้หนักไปทางซึมเซา งมงาย)
4) สัทธาจริต (ผู้หนักไปทางเชื่อง่าย)
5) พุทธิจริต/ญาณจริต (ผู้ประพฤติหนักไปทาง การใช้ความคิดพินิจพิจารณา)
6) วิตกจริต (ผู้ประพฤติหนักไปทางคิดจับจด ฟุ้งซ่าน)

วิธีการแก้ไข
1. อสุภะและกายคตาสติ (การพิจารณาให้เห็นเป็นของไม่สวยไม่งาม, การมีสติพิจารณาด้วยการเจริญกรรมฐาน)
2. เจริญกรรมฐานข้อธรรมคือ พรหมวิหาร 4 (เมตตา กรุณา มุทิตา อุเบกขา) และกสิณ คือ วัณณกสิณ (กสิณสี คือการเพ่งสีเขียว เหลือง แดง ขาว)
3. เจริญกรรมฐานข้ออานาปานสติ (กำหนดลมหายใจเข้า-ออก การเรียน การฟัง การถาม การศึกษาหาความรู้ การสนทนาตามกาลกับครูอาจารย์)
4. การพิจารณาพุทธานุสสติ แนะนำให้เชื่ออย่างมีเหตุผล
5. การพิจารณาพระไตรลักษณ์ (อนิจจตา ทุกขตา อนัตตตา) การเจริญกรรมฐานข้อมรณสติ อุปมานุสติ จตุธาตุววัฎฐาน และอาหาเรปฏิกูลสัญญา
6. การสะกดอารมณ์ด้วยการใช้หลักอานาปานสติ หรือเพ่งกสิณ เป็นต้น
(ขุ.ม. 29/727/435;889/555: ขุ.จุ. 30/492/244;/วิสุทธิ. 1/127)

จริต 6 นี้ เนื่องในอกุศลมูล 31 คือรากเหง้าของความชั่ว บาปทั้งหลายทั้งปวง มีหลักธรรมสำหรับแก้จริตทั้ง 6 ดังได้เสนอผ่านมาแล้ว
สติปัฏฐาน 4 เป็นทางเดียว เป็นทางบริสุทธิ์ที่ทำให้มนุษยชาติพ้นจากราคะ*/โลภะ โทสะ และโมหะ พ้นจากความโศก ความคร่ำครวญ กำจัดทุกข์กาย ทุกข์ใจ เพื่อเข้าถึงธรรมที่ถูกต้อง ด้วยการทำพระนิพพานให้แจ้ง

ได้โปรดศึกษาความพิสดารเรื่อง "สติปัฏฐาน 4" ได้ใน "สวดมนต์แปล" ของพระเดชพระคุณท่านเจ้าคุณพระศาสนโศภณ (แจ่ม จตฺตสลฺโล) วัดมกุฏกษัตริยาราม (หน้า 130-463) และ "พระไตรปิฎกฉบับประชาชน" ของอาจารย์สุชีพ ปุญญานุภาพ (หน้า 336-337), พระไตรปิฎกฉบับสยามรัฐ (ฉบับภาษาบาลี) หน้า 325-351, หนังสือ "นวโกวาท" พระนิพนธ์ของเจ้าพระคุณสมเด็จพระมหาสมณเจ้ากรมพระยาวชิรญาณวโรรส พิมพ์ครั้งที่ 74/2525 หน้า 34.