Tuesday, April 08, 2008

อิทธิบาท 4











คำว่า อิทธิบาท แปลว่า บาทฐานแห่งความสำเร็จ หมายถึง สิ่งซึ่งมีคุณธรรม เครื่องให้ลุถึงความสำเร็จตามที่ตนประสงค์ ผู้หวังความสำเร็จในสิ่งใด ต้องทำตนให้สมบูรณ์ ด้วยสิ่งที่เรียกว่า อิทธิบาท ซึ่งจำแนกไว้เป็น ๔ คือ ๑. ฉันทะ ความพอใจรักใคร่ในสิ่งนั้น ๒. วิริยะ ความพากเพียรในสิ่งนั้น ๓. จิตตะ ความเอาใจใส่ฝักใฝ่ในสิ่งนั้น ๔. วิมังสา ความหมั่นสอดส่องในเหตุผลของสิ่งนั้น

ธรรม ๔ อย่างนี้ ย่อมเนื่องกัน แต่ละอย่างๆ มีหน้าที่เฉพาะของตน

ฉันทะ คือความพอใจ ในฐานะเป็นสิ่งที่ ตนถือว่า ดีที่สุด ที่มนุษย์เรา ควรจะได้ ข้อนี้ เป็นกำลังใจ อันแรก ที่ทำให้เกิด คุณธรรม ข้อต่อไป ทุกข้อ

วิริยะ คือความพากเพียร หมายถึง การการะทำที่ติดต่อ ไม่ขาดตอน เป็นระยะยาว จนประสบ ความสำเร็จ คำนี้ มีความหมายของ ความกล้าหาญ เจืออยู่ด้วย ส่วนหนึ่ง

จิตตะ หมายถึงความไม่ทอดทิ้ง สิ่งนั้น ไปจากความรู้สึก ของตัว ทำสิ่งซึ่งเป็น วัตถุประสงค์ นั้นให้เด่นชัด อยู่ในใจเสมอ คำนี้ รวมความหมาย ของคำว่า สมาธิ อยู่ด้วยอย่างเต็มที่

วิมังสา หมายถึงความสอดส่องใน เหตุและผล แห่งความสำเร็จ เกี่ยวกับเรื่องนั้นๆ ให้ลึกซึ้งยิ่งๆ ขึ้นไปตลอดเวลา คำนี้ รวมความหมาย ของคำว่า ปัญญา ไว้อย่างเต็มที่

หลวงพ่อทัตตชีโว หรือ หลวงพ่อธรรมชโย เคยบอกแนวทางวิธีง่ายๆ ที่จะสร้าง วิมังสาให้เกิดขึ้นกับตัวเรา มันเป็นคำง่ายๆ แต่ลึกซึ้งมาก ท่านแค่ให้โอวาทในการทำงานว่า

"ทำให้ดี กว่าดีที่สุด"

นั่นหมายถึง เวลาเราทำงานแล้ว คิดว่าดีแล้ว ให้สังเกตุ และ วิเคราะห์งานที่ทำว่า เราสามารถทำได้ดีกว่านี้อีกหรือไม่ มีวิธีการใดที่จะทำได้ดีกว่านี้ หรือ ถ้าทำในครั้งต่อไป เราจะทำอย่างไรเพื่อให้ได้ผลดีกว่านี้ เป็นต้น ซึ่งถ้าทุกคนสามารถนำเอาคำหลวงพ่อมาใช้ ก็จะเปลี่ยนแปลงตนเองให้มีวิมังสาให้เกิดกับตนเองได้อย่างน่าอัศจรรย์

และ อีกโอวาทหนึ่ง คือ

"ไม่ได้ ไม่ดี ไม่มี ไม่ได้... ต้องได้ ต้องดี ต้องมี ต้องได้"

คำว่า "ไม่ได้ ไม่ดี ไม่มี ไม่ได้" เป็นคำที่บ่งบอกให้ใจของเรามุ่งมั่นว่าสิ่งที่จะทำนั้นในเมื่อรับงานมาแล้ว การจะบอกว่า ทำไม่ได้ นั้น ต้องไม่มี เพราะก่อนที่เจ้านายจะสั่งงานนั้น ก็ต้องคิดก่อนแล้วว่าน่าจะเป็นไปได้ แต่ถ้าทำไม่ได้ก็ต้องแสวงหาหนทางเพื่อที่จะทำในหนทางอื่นๆอีก ไม่ใช่ว่า คิดว่าทำไม่ได้ก็จบกันไป หรือบางคนมักจะอ้างว่า ไม่มีสิ่งนั้น ไม่มีสิ่งนี้ ทั้งๆที่ตนเองยังไม่ได้พยายามหาเลยก็มี ซึ่งคนกลุ่มนี้ก็ต้องให้เขาคิด ว่า ถ้าไม่มีสิ่งนั้นแล้วจะหาสิ่งอื่นๆมาทดแทนได้หรือไม่ หรือ จะสร้างสิ่งเหล่านั้นขึ้นมาได้อย่างไร และ เมื่อเริ่มทำแล้วก็ต้องทำให้ดี หากต้องแก้ไขก็ต้องแก้ไขให้ดีขึ้นเรื่อยๆ

พรหมวิหาร 4





















พรหมวิหาร แปลว่า ธรรมของพรหมหรือของท่านผู้เป็นใหญ่ พรหมวิหารเป็นหลักธรรมสำหรับทุกคน เป็นหลักธรรมประจำใจที่จะช่วยให้เราดำรงชีวิตอยู่ได้อย่างประเสริฐและบริสุทธิ์ หลักธรรมนี้ได้แก่
- เมตตา ความปรารถนาให้ผู้อื่นได้รับสุข
- กรุณา ความปราถนาให้ผู้อื่นพ้นทุกข์
- มุทิตา ความยินดีเมื่อผู้อื่นได้ดี
- อุเบกขา การรู้จักวางเฉย


เมตตา
ความปราถนาให้ผู้อื่นได้รับสุข ความสุขเป็นสิ่งที่ทุกคนปรารถนา ความสุขเกิดขึ้นได้ทั้งกายและใจ เช่น ความสุขเกิดการมีทรัพย์ ความสุขเกิดจากการใช้จ่ายทรัพย์เพื่อการบริโภค ความสุขเกิดจากการไม่เป็นหนี้ และความสุขเกิดจากการทำงานที่ปราศจากโทษ เป็นต้น


กรุณา
ความปรารถนาให้ผู้อื่นพ้นทุกข์ ความทุกข์ คือ สิ่งที่เข้ามาเบียดเบียนให้เกิดความไม่สบายกายไม่สบายใจ และเกิดขึ้นจากปัจจัยหลายประการด้วยกัน พระพุทธองค์ทรงสรุปไว้ว่าความทุกข์มี 2 กลุ่มใหญ่ๆ ดังนี้

- ทุกข์โดยสภาวะ หรือเกิดจากเปลี่ยนแปลงตามธรรมชาติของร่างกาย เช่น การเกิด การเจ็บไข้ ความแก่และความตายสิ่งมีชีวิตทั้งหลายที่เกิดมาในโลกจะต้องประสบกับการเปลี่ยนแปลงทางร่างกายอย่างหลีกเลี่ยงไม่ได้ ซึ่งรวมเรียกว่า กายิกทุกข์

- ทุกข์จรหรือทุกข์ทางใจ อันเป็นความทุกข์ที่เกิดจากสาเหตุที่อยู่นอกตัวเรา เช่น เมื่อปรารถนาแล้วไม่สมหวังก็เป็นทุกข์ การประสบกับสิ่งอันไม่เป็นที่รักก็เป็นทุกข์การพลัดพรากจากสิ่งอันเป็นที่รัก ก็เป็นทุกข์ รวมเรียกว่า เจตสิกทุกข์


มุทิตา
ความยินดีเมื่อผู้อื่นได้ดี คำว่า "ดี" ในที่นี้ หมายถึง การมีความสุขหรือมีความเจริญก้าวหน้า ความยินดีเมื่อผู้อื่นได้ดีจึงหมายถึง ความปรารถนาให้ผู้อื่นมีความสุขความเจริญก้าวหน้ายิ่งๆขึ้น ไม่มีจิตใจริษยา ความริษยา คือ ความไม่สบายใจ ความโกรธ ความฟุ้งซ่านซึ่งมักเกิดขึ้นเมื่อเห็นผู้อื่นได้ดีกว่าตน เช่น เห็นเพื่อนแต่งตัวเรียบร้อยแล้วครูชมเชยก็เกิดความริษยาจึงแกล้งเอาเศษชอล์ก โคลน หรือหมึกไปป้ายตามเสื้อกางเกงของเพื่อนนักเรียนคนนั้นให้สกปรกเลอะเทอะ เราต้องหมั่นฝึกหัดตนให้เป็นคนที่มีมุทิตา เพราะจะสร้างไมตรีและผูกมิตรกับผู้อื่นได้ง่ายและลึกซึ้ง


อุเบกขา
การรู้จักวางเฉย หมายถึง การวางใจเป็นกลางเพราะพิจารณาเห็นว่า ใครทำดีย่อมได้ดี ใครทำชั่วย่อมได้ชั่ว ตามกฎแห่งกรรม คือ ใครทำสิ่งใดไว้สิ่งนั้นย่อมตอบสนองคืนบุคคลผู้กระทำ เมื่อเราเห็นใครได้รับผลกรรมในทางที่เป็นโทษเราก็ไม่ควรดีใจหรือคิดซ้ำเติมเขาในเรื่องที่เกิดขึ้น เราควรมีความปรารถนาดี คือพยายามช่วยเหลือผู้อื่นให้พ้นจากความทุกข์ในลักษณะที่ถูกต้องตามทำนองคลองธรรม

เชิดชูครู ผู้สร้างคน


ใครคือครู ครูคือใคร? ในวันนี้


ครูคือผู้ชี้นำ ทางความคิด


ให้รู้ถูกรู้ผิด คิดอ่านเขียน


ให้รู้ทุกข์ รู้ยาก รู้พากเพียร

ให้รู้เปลี่ยน แปลงสู้ รู้สร้างงาน

ครูคือผู้ยกระดับ วิญญาณมนุษย์

ให้สูงสุดกว่าสัตว์เดรัจฉาน


ครูคือผู้สั่งสมอุดมการณ์

มีดวงมาร เพื่อมวลชน ใช่ตนเอง


ครูจึงเป็นนักสร้างผู้ใหญ่ยิ่ง

สร้างคนจริง สร้างคนกล้า สร้างคนเก่ง

สร้างคนให้ได้เป็นตัว ของตัวเอง

ขอมอบเพลงนี้มา บูชาครู



เพราะคนไทยมีครู จึงมีเราทุกคนในวันนี้ 7-eleven เชิดชูครู ผู้สร้างคน