Tuesday, April 08, 2008

อิทธิบาท 4











คำว่า อิทธิบาท แปลว่า บาทฐานแห่งความสำเร็จ หมายถึง สิ่งซึ่งมีคุณธรรม เครื่องให้ลุถึงความสำเร็จตามที่ตนประสงค์ ผู้หวังความสำเร็จในสิ่งใด ต้องทำตนให้สมบูรณ์ ด้วยสิ่งที่เรียกว่า อิทธิบาท ซึ่งจำแนกไว้เป็น ๔ คือ ๑. ฉันทะ ความพอใจรักใคร่ในสิ่งนั้น ๒. วิริยะ ความพากเพียรในสิ่งนั้น ๓. จิตตะ ความเอาใจใส่ฝักใฝ่ในสิ่งนั้น ๔. วิมังสา ความหมั่นสอดส่องในเหตุผลของสิ่งนั้น

ธรรม ๔ อย่างนี้ ย่อมเนื่องกัน แต่ละอย่างๆ มีหน้าที่เฉพาะของตน

ฉันทะ คือความพอใจ ในฐานะเป็นสิ่งที่ ตนถือว่า ดีที่สุด ที่มนุษย์เรา ควรจะได้ ข้อนี้ เป็นกำลังใจ อันแรก ที่ทำให้เกิด คุณธรรม ข้อต่อไป ทุกข้อ

วิริยะ คือความพากเพียร หมายถึง การการะทำที่ติดต่อ ไม่ขาดตอน เป็นระยะยาว จนประสบ ความสำเร็จ คำนี้ มีความหมายของ ความกล้าหาญ เจืออยู่ด้วย ส่วนหนึ่ง

จิตตะ หมายถึงความไม่ทอดทิ้ง สิ่งนั้น ไปจากความรู้สึก ของตัว ทำสิ่งซึ่งเป็น วัตถุประสงค์ นั้นให้เด่นชัด อยู่ในใจเสมอ คำนี้ รวมความหมาย ของคำว่า สมาธิ อยู่ด้วยอย่างเต็มที่

วิมังสา หมายถึงความสอดส่องใน เหตุและผล แห่งความสำเร็จ เกี่ยวกับเรื่องนั้นๆ ให้ลึกซึ้งยิ่งๆ ขึ้นไปตลอดเวลา คำนี้ รวมความหมาย ของคำว่า ปัญญา ไว้อย่างเต็มที่

หลวงพ่อทัตตชีโว หรือ หลวงพ่อธรรมชโย เคยบอกแนวทางวิธีง่ายๆ ที่จะสร้าง วิมังสาให้เกิดขึ้นกับตัวเรา มันเป็นคำง่ายๆ แต่ลึกซึ้งมาก ท่านแค่ให้โอวาทในการทำงานว่า

"ทำให้ดี กว่าดีที่สุด"

นั่นหมายถึง เวลาเราทำงานแล้ว คิดว่าดีแล้ว ให้สังเกตุ และ วิเคราะห์งานที่ทำว่า เราสามารถทำได้ดีกว่านี้อีกหรือไม่ มีวิธีการใดที่จะทำได้ดีกว่านี้ หรือ ถ้าทำในครั้งต่อไป เราจะทำอย่างไรเพื่อให้ได้ผลดีกว่านี้ เป็นต้น ซึ่งถ้าทุกคนสามารถนำเอาคำหลวงพ่อมาใช้ ก็จะเปลี่ยนแปลงตนเองให้มีวิมังสาให้เกิดกับตนเองได้อย่างน่าอัศจรรย์

และ อีกโอวาทหนึ่ง คือ

"ไม่ได้ ไม่ดี ไม่มี ไม่ได้... ต้องได้ ต้องดี ต้องมี ต้องได้"

คำว่า "ไม่ได้ ไม่ดี ไม่มี ไม่ได้" เป็นคำที่บ่งบอกให้ใจของเรามุ่งมั่นว่าสิ่งที่จะทำนั้นในเมื่อรับงานมาแล้ว การจะบอกว่า ทำไม่ได้ นั้น ต้องไม่มี เพราะก่อนที่เจ้านายจะสั่งงานนั้น ก็ต้องคิดก่อนแล้วว่าน่าจะเป็นไปได้ แต่ถ้าทำไม่ได้ก็ต้องแสวงหาหนทางเพื่อที่จะทำในหนทางอื่นๆอีก ไม่ใช่ว่า คิดว่าทำไม่ได้ก็จบกันไป หรือบางคนมักจะอ้างว่า ไม่มีสิ่งนั้น ไม่มีสิ่งนี้ ทั้งๆที่ตนเองยังไม่ได้พยายามหาเลยก็มี ซึ่งคนกลุ่มนี้ก็ต้องให้เขาคิด ว่า ถ้าไม่มีสิ่งนั้นแล้วจะหาสิ่งอื่นๆมาทดแทนได้หรือไม่ หรือ จะสร้างสิ่งเหล่านั้นขึ้นมาได้อย่างไร และ เมื่อเริ่มทำแล้วก็ต้องทำให้ดี หากต้องแก้ไขก็ต้องแก้ไขให้ดีขึ้นเรื่อยๆ

0 Comments:

Post a Comment

<< Home