สติปัฏฐาน ๔
๑.การตั้งสติพิจารณากาย (กายานุปัสสนา)
๒.การตั้งสติพิจารณาอารมณ์ (เวทนานุปัสสนา)
๓.การตั้งสติพิจารณาใจที่เศร้าหมองหรือผ่องแผ้ว (จิตตานุปัสสนา)
๔.การตั้งสติพิจารณาธรรมที่เป็นกุศลหรืออกุศล (ธัมมานุปัสสนา)
กายานุปัสสนา การตั้งสติพิจารณากาย แบ่งย่อยออกไปเป็น 6 ส่วน (การตั้งสติกำหนดพิจารณากายให้รู้เห็นตามความเป็นจริงว่า เป็นแต่เพียงกาย ไม่ใช่สัตว์บุคคล ตัวตนเราเขา)
1) อานาปานสติ กำหนดลมหายใจเข้า-ออก
2) อิริยาบถ กำหนดให้รู้เท่าทันอิริยาบถ
3) สัมปชัญญะ ความรู้ตัวในการเคลื่อนไหวทุกอย่าง
4) ปฏิกูลมนสิการ พิจารณาส่วนประกอบของร่างกาย (อวัยวะต่าง ๆ) ว่าเป็นของไม่สะอาด
5) ธาตุมนสิการ พิจารณาร่างกายของตนให้เห็นว่าเป็นสักแต่ว่าธาตุแต่ละอย่าง ๆ
6) นวสีวถิกา พิจาณาซากศพในสภาพต่าง ๆ ตั้งแต่เริ่มตายใหม่ ๆ จนถึงกระดูกป่นเป็นผุยผง (อันแตกต่างกันใน 9 ระยะเวลา ท่านเรียกว่าป่าช้า 9) ให้เห็นว่าเป็นคติธรรม ร่างกายของผู้อื่น (ซากศพที่กำลังพิจารณา) เป็นเช่นใด ร่างกายของเราก็จักเป็นเช่นนั้น (รวมเป็น 6 ส่วน)
เวทนานุปัสสนา (การตั้งสติกำหนดพิจารณาเวทนา คือ การรู้สึกอารมณ์ให้รู้เห็นตามความเป็นจริงว่าเป็นเพียงเวทนา ... ที่เป็นอยู่ในขณะนั้น ๆ)
1) สุข
2) ทุกข์
3) ไม่ทุกข์ไม่สุข
4) สุขประกอบด้วยอามิส
5) สุขไม่ประกอบด้วยอามิส
6) ทุกข์ประกอบด้วยอามิส
7) ทุกข์ไม่ประกอบด้วยอามิส
8) ไม่ทุกข์ไม่สุขประกอบด้วยอามิส
9) ไม่ทุกข์ไม่สุข ไม่ประกอบด้วยอามิส (รวมเป็น 9 อย่าง)
จิตตานุปัสสนา (การตั้งสติกำหนดพิจารณาจิต ...)
1) จิตมีราคะ
2) จิตไม่มีราคะ
3) จิตมีโทสะ
4) จิตไม่มีโทสะ
5) จิตมีโมหะ
6) จิตไม่มีโมหะ
7) จิตหดหู่
8) จิตฟุ้งซ่าน
9) จิตใหญ่ (จิตในฌาน)
10) จิตไม่ใหญ่ (จิตที่ไม่ถึงฌาน)
11) จิตมีจิตอื่นยิ่งกว่า
12) จิตไม่มีจิตอื่นยิ่งกว่า
13) จิตตั้งมั่น
14) จิตไม่ตั้งมั่น
15) จิตหลุดพ้น
16) จิตไม่หลุดพ้น (รวม 16 อย่าง)
ธัมมานุปัสสนา (การตั้งสติกำหนดพิจารณาธรรม ...)
1) พิจารณาธรรมที่กั้นจิตไม่ให้บรรลุสมาธิ คือ นีวรณ์ 5 มี กามฉันท์ พยาบาท ถีนมิทธะ อุทธัจจกุกกุจะ และวิจิกิจฉา) เรียกว่า นี วรณบรรพ
2) ขันธ์ 5 คือ รูป เวทนา สัญญา สังขาร และวิญญาณ เรียกว่า ขันธบรรพ
3) อายตนะภายใน 6 คือ ตา หู จมูก ลิ้น กาย และใจ เรียกว่า อายตนบรรพ
4) ธรรมที่เป็นองค์แห่งการตรัสรู้ 7 คือ โพชฌงค์ 7 (สติ ธัมมวิจยะ วิริยะ ปีติ ปัสสัทธิ สมาธิ และอุเบกขา) เรียกว่า โพชฌงคบรรพ
ตั้งสติกำหนดรู้ชัดธรรมทั้งหลายมี
...นีวรณ์ 5 (กามฉันท์ พยาบาท ถีนมิทธะ อุทธัจจกุกกุจจะ และวิจิกิจฉา)
...ขันธ์ 5 (รูป เวทนา สัญญา สังขาร และวิญญาณ)
...อายตนะภายใน 6 (ตา หู จมูก ลิ้น กาย และใจ)
...อายตนะภายนอก 6 (รูป เสียง กลิ่น รส โผฏฐัพพะและธัมมารมณ์)
...โพชฌงค์ 7 (สติ ธัมมวิจยะ วิริยะ ปิติ ปัสสัทธิ [ความสงบกาย-สงบใจ] สมาธิ อุเบกขา)
...อริยสัจจ์ 4 (ทุกข์ ทุกขสมุทัย ทุกขนิโรธ ทุกขนิโรธคามินีปฏิปทา)
ว่าคืออะไร เป็นอย่างไร มีในตนหรือไม่ เกิดขึ้น เจริญขึ้นและดับไปอย่างไร เป็นต้น ตามความเป็นจริงของสรรพสิ่ง อย่างนั้น ๆ (รวม 5 ส่วน)
พระสัมมาสัมพุทธเจ้าทรงแสดงถึงพฤติกรรมของจิตมนุษย์พร้อมวิธีแก้ไขพฤติกรรม
ในหลักพระพุทธศาสนาได้จำแนกพฤติกรรมของจิต เรียกว่าจริต (ความประพฤติเป็นปกติ; พื้นฐานของจิต ที่หนักไปทางใดทางหนึ่ง) ออกเป็น 6 ชนิด
พฤติกรรมของจิด
1) ราคจริต (ผู้หนักไปทางรักสวยรักงาม)
2) โทสจริต (ผู้หนักไปทางใจร้อน หงุดหงิด โกรธง่ายคิดประทุษร้าย)
3) โมหจริต (ผู้หนักไปทางซึมเซา งมงาย)
4) สัทธาจริต (ผู้หนักไปทางเชื่อง่าย)
5) พุทธิจริต/ญาณจริต (ผู้ประพฤติหนักไปทาง การใช้ความคิดพินิจพิจารณา)
6) วิตกจริต (ผู้ประพฤติหนักไปทางคิดจับจด ฟุ้งซ่าน)
วิธีการแก้ไข
1. อสุภะและกายคตาสติ (การพิจารณาให้เห็นเป็นของไม่สวยไม่งาม, การมีสติพิจารณาด้วยการเจริญกรรมฐาน)
2. เจริญกรรมฐานข้อธรรมคือ พรหมวิหาร 4 (เมตตา กรุณา มุทิตา อุเบกขา) และกสิณ คือ วัณณกสิณ (กสิณสี คือการเพ่งสีเขียว เหลือง แดง ขาว)
3. เจริญกรรมฐานข้ออานาปานสติ (กำหนดลมหายใจเข้า-ออก การเรียน การฟัง การถาม การศึกษาหาความรู้ การสนทนาตามกาลกับครูอาจารย์)
4. การพิจารณาพุทธานุสสติ แนะนำให้เชื่ออย่างมีเหตุผล
5. การพิจารณาพระไตรลักษณ์ (อนิจจตา ทุกขตา อนัตตตา) การเจริญกรรมฐานข้อมรณสติ อุปมานุสติ จตุธาตุววัฎฐาน และอาหาเรปฏิกูลสัญญา
6. การสะกดอารมณ์ด้วยการใช้หลักอานาปานสติ หรือเพ่งกสิณ เป็นต้น
(ขุ.ม. 29/727/435;889/555: ขุ.จุ. 30/492/244;/วิสุทธิ. 1/127)
จริต 6 นี้ เนื่องในอกุศลมูล 31 คือรากเหง้าของความชั่ว บาปทั้งหลายทั้งปวง มีหลักธรรมสำหรับแก้จริตทั้ง 6 ดังได้เสนอผ่านมาแล้ว
สติปัฏฐาน 4 เป็นทางเดียว เป็นทางบริสุทธิ์ที่ทำให้มนุษยชาติพ้นจากราคะ*/โลภะ โทสะ และโมหะ พ้นจากความโศก ความคร่ำครวญ กำจัดทุกข์กาย ทุกข์ใจ เพื่อเข้าถึงธรรมที่ถูกต้อง ด้วยการทำพระนิพพานให้แจ้ง
ได้โปรดศึกษาความพิสดารเรื่อง "สติปัฏฐาน 4" ได้ใน "สวดมนต์แปล" ของพระเดชพระคุณท่านเจ้าคุณพระศาสนโศภณ (แจ่ม จตฺตสลฺโล) วัดมกุฏกษัตริยาราม (หน้า 130-463) และ "พระไตรปิฎกฉบับประชาชน" ของอาจารย์สุชีพ ปุญญานุภาพ (หน้า 336-337), พระไตรปิฎกฉบับสยามรัฐ (ฉบับภาษาบาลี) หน้า 325-351, หนังสือ "นวโกวาท" พระนิพนธ์ของเจ้าพระคุณสมเด็จพระมหาสมณเจ้ากรมพระยาวชิรญาณวโรรส พิมพ์ครั้งที่ 74/2525 หน้า 34.
0 Comments:
Post a Comment
<< Home